เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2558 กองทัพไทย จึงได้จัดให้มีการจัดการประกวดผลงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ 68 ปี ที่ได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากกว่า 4,447 โครงการ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่พี่น้องประชาชน ชาวไทยทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งการจัดการประกวดผลงานการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกองทัพไทยครั้งที่ 4 ในครั้งนี้ จะเป็นการยกระดับการน้อมนำผลการปฏิบัติของเหล่าทัพ ไปสู่การจัดการประกวดในระดับประเทศของกองทัพไทย เพื่อให้เหล่าทัพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ภาคประชาชนที่ได้รับการส่งเสริม สามารถน้อมนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ให้มีความสุขได้อย่างยั่งยืน
2.1 เพื่อให้กำลังพล ทหาร ตำรวจ ครอบครัว และภาคประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2558
2.2 เพื่อเผยแพร่พระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่ประชาชนชาวไทยทุกภาคส่วน ในการปฏิบัติงาน และการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงและยั่งยืน
2.3 เพื่อส่งเสริมยกย่องและเชิดชูเกียรติ กำลังพล กองบัญชาการกองทัพไทย เหล่าทัพ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจน ครอบครัวและประชาชนทั่วไป ที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิต จนประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
3.1 ประชุมครั้งที่ 1 ส่วนราชการภายใน (ห้วง 15 ต.ค.57)
3.2 ขออนุมัติดำเนินการตามโครงการฯ และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน (ห้วง พ.ย.57)
3.3 ประชุมครั้งที่ 2 คณะกรรมการดำเนินงานฯ (ห้วง 18 ธ.ค.57)
3.4 การแถลงข่าวการจัดประกวดผลงาน (ห้วง ม.ค.58 )
3.5 กำหนดรับสมัครผลงาน (ห้วง 16 มี.ค.58)
3.6 การตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น (ห้วง 1 - 30 เม.ย.58)
3.7 ชุดตรวจดำเนินการตรวจผลในพื้นที่ (ห้วง พ.ค. - มิ.ย.58)
3.8 การขออนุมัติผลการประกวดและการประกาศผล (ห้วง 6 - 10 ก.ค.58)
3.9 ประชุมครั้งที่ ๓ เตรียมพิธีมอบรางวัล (ห้วง 25 ก.ค.58)
3.10 พิธีมอบรางวัล (ห้วงต้นเดือน ส.ค.58)
ใช้งบประมาณ ของ ศูนย์ประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง
การจัดการประกวดเป็นความร่วมมือกันระหว่าง กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีการดำเนินงาน ดังนี้
5.1 การเตรียมงานและประกาศเชิญชวน โดยจัดการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการประกวด การประชาสัมพันธ์ การเสนอเรื่องขออนุมัติ ต่อ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รวมทั้งการประกาศเชิญชวนให้ส่วนราชการใน กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทราบ
5.2 การรับสมัครและการตรวจผลงานที่ส่งเข้าประกวด โดยการรับสมัคร การส่งผลงานเข้าประกวดการตรวจผลงานที่ส่งเข้าประกวด และการตัดสินผลงานจากคณะกรรมการฯ
5.3 ขออนุมัติประกาศผลการตัดสินและพิธีมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวด ในห้วง ก.ค.58 และจัดพิธีมอบรางวัลในห้วง ส.ค.58 โดยเรียนเชิญ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล
6.1 การรับรางวัล
6.1.1 ชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล จำนวน 50,000.-บาท
6.1.2 รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับถ้วยรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 พร้อมเงินรางวัล จำนวน 30,000.-บาท
6.1.3 รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับถ้วยรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล จำนวน 20,000.-บาท
6.2 การจารึกชื่อ - สกุล และ ตำแหน่ง บนถ้วยรางวัล
6.2.1 ขอจารึกชื่อ - สกุล และ ตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด บนถ้วยรางวัล ประเภทหน่วยงานต้นแบบที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติงาน
6.2.2 ขอจารึกชื่อ - สกุล และ ตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด บนถ้วยรางวัล ประเภทหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ
6.2.3 ขอจารึกชื่อ - สกุล และ ตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก บนถ้วยรางวัล ประเภทศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหน่วยทหารหรือตำรวจ
6.2.4 ขอจารึกชื่อ - สกุล และ ตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารเรือ บนถ้วยรางวัล ประเภทชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง (ผลงานของชุมชนบริเวณบ้านพักในหน่วยทหารหรือตำรวจ)
6.2.5 ขอจารึกชื่อ - สกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ บนถ้วยรางวัล ประเภทครอบครัวข้าราชการที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปดำเนินชีวิต
6.2.6 ขอจารึกชื่อ - สกุล ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บนถ้วยรางวัล ประเภทประชาชนทั่วไป (ทุกสาขาอาชีพ) ที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยทหารหรือตำรวจ
แบ่งการประกวดออกเป็น 6 ประเภท คือ
ประเภท | คุณสมบัติ | คุณลักษณะผลงาน | หมายเหตุ |
ประเภทหน่วยงานต้นแบบที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติงาน |
หน่วยทหารหรือตำรวจที่นำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปปรับใช้ ในการทำงาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ผู้ร่วมงานสามารถอธิบายการทำงานโดยใช้แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้้ | 1. มีแนวทางการทำงานประจำวันตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนประสบความสำเร็จ 2. เป็นผลงานที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งผู้ร่วมงานสามารถอธิบายการทำงานเป็นไปตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร 3. เป็นผลงานที่คณะกรรมการฯ สามารถตรวจสอบ บุคคลและ การดำเนินงานตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ |
|
ประเภทหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ
|
เป็นหมู่บ้านที่ประกาศจัดตั้งโดยกระทรวงมหาดไทยตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ ไม่น้อยกว่า ๓๐ หลังคาเรือน และได้รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่ สร้างประโยชน์สุขให้ชุมชนโดยส่วนรวมมีความสามัคคี และสามารถพึ่งตนเองได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ และไม่เคยได้รับรางวัลการประกวดด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับ จังหวัดหรือสูงกว่ามาก่อน | 1. มีแนวทางการดำเนินชีวิตประจำวันตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนประสบความสำเร็จอยู่ดีมีสุข |
|
ประเภทศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหน่วยทหารหรือตำรวจ |
เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ที่ดำเนินการโดยหน่วยทหาร หรือตำรวจ | 1. มีแนวทางการดำเนินชีวิต ประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนประสบ ความสำเร็จอยู่ดีมีสุข |
|
ประเภทชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง (ผลงานของชุมชนบริเวณบ้านพักในหน่วยทหารหรือตำรวจ) |
ชุมชุนทหารหรือตำรวจ บริเวณบ้านพักที่มีสมาชิก ของชุมชนรวมตัวกันตั้งแต่ ๑๐ ครัวเรือนขึ้นไป ที่นำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปปรับใช้ สามารถดำเนินชีวิตประจำวันอย่างอยู่ดี มีสุข ชาวชุมชนสามารถอธิบายการใช้ชีวิตประจำวันตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ | 1. มีแนวทางการดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนประสบ ความสำเร็จอยู่ดีมีสุข |
|
ประเภทครอบครัวข้าราชการที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปดำเนินชีวิต |
ครอบครัวข้าราชการ ที่มีความประพฤติดี มีคุณธรรม และดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนประสบความสำเร็จอยู่ดีมีสุข สามารถเป็นแบบอย่างสำหรับประชาชนทั่วไป | 1. มีแนวทางการดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนประสบ ความสำเร็จอยู่ดีมีสุข 2. เป็นผลงานที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งสมาชิกในครอบครัวสามารถอธิบายการดำเนินชีวิตเป็นไปตามหลักปรัชญาฯอย่างไร 3. เป็นผลงานที่คณะกรรมการฯ สามารถตรวจสอบประวัติ บุคคลและการดำเนินงานตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ |
|
ประเภทประชาชนทั่วไป (ทุกสาขาอาชีพ) ที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยทหารหรือตำรวจ
|
บุคคลที่มีความประพฤติดี มีคุณธรรม และดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนประสบความสำเร็จอยู่ดีมีสุข สามารถเป็นแบบอย่างสำหรับประชาชนทั่วไป | 1. มีแนวทางการดำเนินชีวิตประจำวันตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนประสบความสำเร็จอยู่ดีมีสุข |
คณะกรรมการแบ่งออกเป็น 4 คณะ คือ
8.1 คณะกรรมการดำเนินงานจัดการประกวดฯ จัดจากผู้แทนส่วนราชการ อาทิ กองบัญชาการกองทัพไทย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองกิจการพลเรือนทหาร กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.2 คณะอนุกรรมการตัดสินผลการประกวดฯ จัดจากผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานนโยบายและแผนกลาโหม ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 6 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองบัญชาการกองทัพไทย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองกิจการพลเรือนทหาร กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.3 คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์การประกวดฯ จัดจากผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมกิจการพลเรือนทหาร กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.4 คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือสรุปผลการประกวดฯ จัดจากผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมกิจการพลเรือนทหาร กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หน่วยที่ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ที่ต้องการเข้าประกวดในลักษณะ “เล่าเรื่องด้วยวีดิทัศน์” ความยาวประมาณ 5 นาที เพื่ออธิบายประวัติและผลงาน พร้อมแนบเอกสารที่มีภาพประวัติและผลงาน ประมาณ 10 ภาพ ส่งให้ ศูนย์ประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง ตามระยะเวลาที่กำหนด
คณะกรรมการจะตรวจเอกสารจากหน่วยงานที่ส่งเข้าประกวดเป็นลำดับแรก และเดินทางไปตรวจพื้นที่จริงพร้อมกับสอบถามจากผู้ปฏิบัติเพื่อตัดสินผลงานต่อไป
กำลังพล กองบัญชาการกองทัพไทย เหล่าทัพ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจน ครอบครัว และประชาชนทั่วไป ได้แสดงออกซึ่งการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์โดยการเผยแพร่พระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานความช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ยาก ของพสกนิกรชาวไทยมาตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ
ประเภทที่ 1 หน่วยงานต้นแบบที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติงาน | |||
รางวัลชนะเลิศ | |||
เจ้าของผลงาน | : | กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน |
ความเป็นหน่วยต้นแบบ |
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ได้นำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” รวมทั้งแนวทางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปฏิบัติงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในพื้นที่เป้าหมายอย่างจริงจังจนประสบผลสำเร็จ สามารถได้รับความร่วมมือจากมวลชนให้การช่วยเหลือและสนับสนุนในการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ของหน่วยได้อย่างสมบูรณ์ ในพื้นที่ที่ตั้งหน่วยเองมีศูนย์การเรียนรู้ที่มีกิจกรรมครบสมบูรณ์อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ทำให้ผู้ที่ต้องการเข้ามาศึกษามีความสะดวกและได้ความรู้อย่างครบถ้วน รวมทั้งการบริหารภายในอื่นให้มีความพร้อมและเป็นพื้นฐานที่ดีก่อน โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพกำลังพลด้วยการฝึกการปฏิบัติการทางยุทธวิธีอย่างจริงจัง รวมทั้งการมอบสวัสดิการให้กำลังพลทำให้กำลังพลมีขวัญกำลังใจดี จึงทำให้ผู้บังคับบัญชาสามารถวางใจในการมอบหมายงานให้ออกไปปฏิบัติงานนอกหน่วยเป็นผลสำเร็จอย่างดียิ่ง รวมทั้งการขยายแนวคิดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปยังกองร้อยและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนได้อย่างครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วยแก้ไขปัญหาและลดความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ได้อย่างเป็นรูปธรรม สมควรอย่างยิ่งที่หน่วยที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อื่น ควรศึกษาแบบอย่างกระบวนการดำเนินงานและนำไปใช้ทั่วพื้นที่ น่าจะทำให้ปัญหาภาคใต้ทุเลาเบาบางหรือหมดสิ้นไป |
ด้านนโยบายและการจัดหน่วย |
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๔ เป็นหน่วยงานในสังกัด กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4 จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2529 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2529 โดยมีที่ตั้งในค่ายพญาลิไท จังหวัดยะลา
ในการดำเนินการประยุกต์ใช้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พันตำรวจเอก ณรงค์ ธนานันทกุล ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 มีนโยบายในการใช้พื้นที่ของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 เพื่อพัฒนาให้เกิดประโยชน์ โดยให้ข้าราชการตำรวจและครอบครัวใช้เวลาว่างในการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้บริโภคภายในครัวเรือน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ โดยได้ดำเนินการจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ กก.ตชด.44” ขึ้นภายในกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 และกองร้อยปฏิบัติการในสังกัด เพื่อเป็นต้นแบบและนำไปขยายผลสู่ชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ |
ด้านงบประมาณและการบริหารการเงิน |
หน่วยบริหารงบประมาณ โดยเน้นการประหยัดค่าสาธารณูปโภค ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์โดยการควบคุมการใช้จ่าย มาตรการเปิดปิดไฟฟ้าเป็นเวลา การผลิตน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคเองโดยมีมิเตอร์เก็บค่าน้ำ การใช้วัสดุสิ้นเปลืองโดยใช้กระดาษสองหน้า การฝึกร่วมกันหลายๆหลักสูตรเพื่อประหยัดงบประมาณ และการใช้เจ้าหน้าที่ชุดช่างโดยกำลังพลของหน่วย
การบริหารเงินนอกงบประมาณ จากกิจกรรมการให้บริการสนามยิงปืน ร้านตัดผม โดยนำรายได้เข้ากองทุนค่ายพญาลิไท และได้นำฝากไว้กับสหกรณ์ออมทรัพย์กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 เพื่อให้มีรายได้เพิ่มจากดอกเบี้ยเงินฝาก |
ด้านการพัฒนาบุคลากร |
ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 มีคำขวัญด้านการพัฒนาบุคลากร คือ “สร้างคน กำหนดงาน คนสำราญ งานสำเร็จ” รวมทั้ง เน้นการจัดบุคลากรให้ตรงกับงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของกำลังพล และดำเนินการฝึกกำลังพลอย่างหนักและจริงจัง ทั้งนี้เพื่อลดการสูญเสียของกำลังพลจากเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลและครอบครัว หน่วยนำพื้นที่ 7 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 200 ไร่ มาดำเนินงานตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการให้ข้าราชการและครอบครัวดำเนินกิจกรรมโดยหน่วยสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้ ต่อมาหน่วยได้ขยายผลโดยจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้
ด้านการส่งเสริมการศึกษาให้กับกำลังพล หน่วยได้ทำข้อตกลงกับสถาบันราชภัฏฯ เพื่อการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งการสนับสนุนการศึกษานอกเวลา ในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี และปริญญาโท โดยมีทุนยืมเรียนซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานผ่านทางสหกรณ์ออมทรัพย์กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 และให้โอกาสผู้ที่สำเร็จการศึกษาให้ได้รับความก้าวหน้าในการรับราชการ ด้านการสวัสดิการ ด้วยการลดหนี้สินและส่งเสริมการออม รวมทั้งสนับสนุนด้านสวัสดิการจากเงินนอกงบประมาณ ซึ่งสหกรณ์ออมทรัพย์จะมอบทุนการศึกษาให้สมาชิก มอบเงินให้กับครอบครัวผู้ที่เสียชีวิต การเยียวยาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บ และนอกจากนี้ยังมีเงินรายได้จากโครงการสนามยิงปืนค่ายพญาลิไท รายได้จากร้านตัดผม ผลผลิตทางการเกษตรทุกโครงการ จะจัดระบบรายได้คือ ร้อยละ 70 เป็นส่วนของการบริหารจัดการโครงการ ร้อยละ 10 นำเข้าในกองทุนค่ายพญาลิไท ร้อยละ 10 เป็นส่วนแรงจูงใจให้กับผู้ดำเนินงาน และร้อยละ 10 เป็นส่วนในการพัฒนาโครงการ |
ด้านผลสัมฤทธิ์ |
การถ่ายทอดองค์ความรู้ จะถ่ายทอดองค์ความรู้จากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 สู่ 4 กองร้อย และถ่ายทอดต่อไปยังชุดปฏิบัติการ และสู่ชุมชน เพื่อลงไปส่งเสริมอาชีพในพื้นที่หมู่บ้านตามลำดับ
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ได้รับรางวัลต่างๆ อาทิ รางวัลสุดยอดเกียรติยศตำรวจไทย สาขาโรงพักพอเพียง, รางวัลสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สนองพระราชดำริ ระดับภูมิภาค, รางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โครงการพระเมตตาสมเด็จย่า |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 | |||
เจ้าของผลงาน | : | กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพบก |
ความเป็นหน่วยต้นแบบ |
กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 มีกระบวนการด้านการเรียนรู้ที่ดี ด้วยการฝึกอบรมให้ความรู้แก่กำลังพล การสร้างศูนย์การเรียนรู้ การขยายผลสู่กำลังพลอื่นและบ้านพัก และมีการดูแลสนับสนุนผู้ที่มีความสนใจ รวมทั้งการมีคณะกรรมการบริหารและมีบัญชีบันทึกควบคุมดูแลโครงการต่างๆ มีการบริหารงบประมาณที่ดี โดยเฉพาะเงินนอกงบประมาณ มีการทำบัญชีการเงินที่โปร่งใส การมีศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่หลากหลายครบถ้วน สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี การทำสมุดบันทึกวินัยชีวิตของกำลังพล ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการทำบัญชีครัวเรือน สามารถนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนชีวิตของตนเองได้ |
ด้านนโยบายและการจัดหน่วย |
กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 มีความเป็นมาในการจัดตั้งหน่วยออกเป็น ๒ ห้วงดังนี้ ห้วงแรก ในปีงบประมาณ 2518 กองทัพบกมีโครงการที่จะเสริมสร้างกำลังกองทัพให้มีความพอเพียงในการป้องกันประเทศจึงได้จัดตั้งหน่วยทหารปืนใหญ่ขนาดกองร้อยมีนามหน่วยว่า "กองร้อยปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 155 มิลลิเมตร ทหารปืนใหญ่กองพลที่ 4" ห้วงที่สอง ได้รับการขยายหน่วยจากเดิมเป็น กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 ตามคำสั่ง กองทัพบก ลับ (เฉพาะ) ที่ 20/21 ลง 10 กุมภาพันธ์ 2521 โดยใช้นามย่อว่า ป.พัน.104
ในการดำเนินการประยุกต์ใช้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากสภาพปัญหาในปัจจุบันที่มีอย่างมากมาย ประกอบกับยุคโลกาภิวัฒน์ที่วิถีชีวิตและสภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มมากยิ่งขึ้น จนนำไปสู่สภาวะปัญหาหนี้สินที่ยากจะแก้ไข ด้วยเหตุผลดังกล่าว กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 ได้เล็งเห็นถึงสภาพปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งมีความพยายามที่จะให้กำลังพลทุกระดับ มีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อความเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัฒน์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กองทัพภาคที่ 3 ขึ้น มิใช่เพียงจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเท่านั้น ยังสามารถสร้างองค์ความรู้ด้านการเกษตร พร้อมขยายผลไปสู่ชุมชน ครอบครัว และสังคมต่อไป กำลังพลในทุกระดับชั้นสามารถมีรายได้เสริม และเป็นการลดสภาวะหนี้สินได้เช่นกัน นอกจากนั้นยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับหน่วยงานทุกระดับทั้งภาครัฐ และเอกชน พร้อมจัดโครงการที่มีลักษณะรูปแบบปลูกฝังองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง พร้อมสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ตั้งเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญ พร้อมทั้งได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมสืบต่อไป ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 มีปณิธานคือ“เป็นหน่วยพร้อมรบที่มีประสิทธิผล ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพล และครอบครัว ในการเสริมสร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และพร้อมรับภัยคุกคามทุกรูปแบบ” รวมทั้งมีวิสัยทัศน์ คือ “รวดเร็ว แม่นยำ ทันเวลา มีมาตรฐานในการปฏิบัติภารกิจ ใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” |
ด้านงบประมาณและการบริหารการเงิน |
หน่วยได้จัดทำแผนการบริหารเบิกจ่ายงบประมาณให้มีความสอดคล้องกับแผนตามวงรอบงบประมาณประจำปีของกองทัพบก เพื่อให้การใช้งบประมาณได้ถูกต้อง คุ้มค่า โปร่งใส และสามารถติดตามผลการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบพร้อมทั้งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ สุจริต ประหยัด และโปร่งใส
การบริหารงบประมาณในเรื่องความถูกต้อง มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงบประมาณ เรื่องความคุ้มค่า ใช้แรงงานเจ้าหน้าที่ช่างจากกำลังพลของหน่วยเอง การปลูกพืชผักเพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารเอง ซึ่งจะได้ราคาถูกขึ้นและได้รับปริมาณมากขึ้น เรื่องความโปร่งใส หน่วยได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นจำนวนมาก เช่น ประกาศเกียรติคุณโครงการบัญชีใสสะอาด ประจำปี 2554 รางวัลชมเชยหน่วยที่มีผลการประเมินการตรวจสอบภายในดีเยี่ยม กองทัพภาคที่ 3 พ.ศ.2556 และประกาศเกียรติคุณสำนักงานการเงินดีเด่น ประจำปี 2557 โดยกรมการเงินทหารบก การบริหารเงินนอกงบประมาณ ซึ่งมีโครงการ 3 ลักษณะ 1)โครงการของหน่วย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแล 2)โครงการร่วมกับกำลังพล 3)โครงการของกำลังพล ทั้ง 3 ลักษณะมีแนวทางการจัดสรรรายได้ชัดเจน ซึ่งนโยบายการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณคือ ใช้เงินทางด้านสวัสดิการ ทุนการศึกษา เป็นต้น และยังมีคณะกรรมการบริหารกองทุนชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนให้สมาชิกนำไปประกอบอาชีพเสริมได้ |
ด้านการพัฒนาบุคลากร |
ส่งเสริมให้มีการวางแผนชีวิตของกำลังพล โดยมีสมุดบันทึกวินัยชีวิต ลักษณะเป็นบัญชีครัวเรือน ซึ่งทำต่อเนื่องมายาวนาน และเป็นแบบอย่างที่ดีให้หน่วยอื่นในกองทัพภาคที่ 3 ได้ปฏิบัติตาม รวมทั้งได้ร่วมมือกับกรุงเทพประกันชีวิต ในการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมการทำบัญชี รายรับ-รายจ่ายครัวเรือนให้กับกำลังพล และยังได้จัดทำ “โครงการเป็นทหาร 2 ปี มีเงินเก็บ 1 แสน”ด้วย
การส่งเสริมการศึกษา ทั้ง ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ตลอดจนมีทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท การเปิด Unit School ทุกกองร้อย 2 วันต่อสัปดาห์ การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยมีพื้นที่เกษตรกรรมจำนวน 200 ไร่ เพื่อให้กำลังพล โดยเฉพาะนายสิบ พลทหารมาเรียนรู้ รวมทั้งการอบรมวิชาชีพให้ทหารกองประจำการ กำลังพลและครอบครัว ด้านการเกษตร มีกิจกรรมหลากหลาย เช่น การปลูกมะนาว ผักไฮโดรโปนิกส์ ทำปุ๋ยหมัก เลี้ยงไก่ไข่ หมูป่า เป็ด โคเนื้อ ปลา จระเข้ และกิจการโรงสี เป็นต้น และได้นำผลผลิตจากพื้นที่เกษตรกรรมเข้าโครงการอาหารคุณภาพ โดยมีอาหารเสริมพิเศษเพิ่มเติมคุณภาพอาหารให้กับทหารกองประจำการ กิจกรรมประกวดบ้านพัก ในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางดำรงชีวิต และเป็นคนต้นแบบของหน่วย |
ด้านผลสัมฤทธิ์ |
กิจกรรมด้านเศรษฐกิจพอเพียงและการฝึกอบรมของหน่วย ได้รับการเผยแพร่ออกสื่อ จากช่อง 3 และ 5 หลายครั้ง รวมทั้งมีกำลังพลเป็นวิทยากร ให้ความรู้ในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีกลุ่มคนมาดูงานหลายครั้ง มีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพภาคที่ 3 มาตรวจเยี่ยมให้ข้อแนะนำอยู่เสมอ และกองทัพภาคที่ 3 ให้กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 เป็นหน่วยต้นแบบ การทำสมุดบันทึกวินัยชีวิตให้หน่วยอื่น และยังมีมีกำลังพลและนักศึกษาเมียนมามาดูงานด้วย
กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 ได้รับรางวัลชมเชย โครงการอาหารปลอดภัย ปี 2558 (Clean Food Good Taste) รับประกาศจาก สตน.ทบ. บัญชีใสสะอาด รางวัลศูนย์การเรียนรู้ดีเด่น |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 | |||
เจ้าของผลงาน | : | กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 23 | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพอากาศ |
ความเป็นหน่วยต้นแบบ |
การดำเนินงานของกองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน ๒๓ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเองก่อน โดยมีการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมจากกำลังพล โดยการระดมหุ้นเพื่อใช้เป็นทุนในการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตรและมีการปันผลอย่างทั่วถึง รวมทั้งเสาะแสวงหาองค์ความรู้ในการดำเนินงานด้วยการเริ่มต้นจากกำลังพลภายในหน่วยแล้วนำมาถ่ายทอดก่อน แล้วจึงแสวงหาองค์ความรู้จากผู้รู้และองค์กรภายนอก รวมทั้งการดำเนินงานทุกโครงการเริ่มต้นดำเนินงานจากเล็กไปหาใหญ่ เพื่อให้มีการเรียนรู้จากการดำเนินงานจริง เมื่อประสบผลสำเร็จดีแล้วจึงขยายความเจริญมากขึ้น จึงเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังมีศูนย์การเรียนรู้ซึ่งมีกิจกรรมอย่างหลากหลาย โดยพื้นที่มีความเหมาะสม ทำให้ผู้เข้ามาเรียนรู้สามารถศึกษาได้ครบถ้วนในพื้นที่เดียวกัน รวมทั้งการมีตลาดรองรับผลผลิตอย่างชัดเจน |
ด้านนโยบายและการจัดหน่วย |
พัน.อย.บน.23 เป็นหน่วยขนาดใหญ่ที่มีกำลังพลจำนวนมาก จึงต้องมีการปกครองบังคับบัญชาและการบริหารจัดการที่ดี นอกจากต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนนโยบายของผู้บังคับบัญชาแล้ว หน่วยยังได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการปกครองบังคับบัญชาและการบริหารจัดการอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน กำลังพลมีขวัญกำลังใจดี และสามารถประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจ รวมทั้งได้มีการรวมกลุ่มของข้าราชการและทหารกองประจำการ ในการใช้พื้นที่ในบริเวณที่ตั้งหน่วยให้เกิดประโยชน์ด้วยการทำเกษตรแบบผสมผสาน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการหารายได้เสริม รวมทั้งได้เดินทางไปศึกษาดูงานและกลับมาปฏิบัติอย่างจริงจัง พร้อมทั้งขยายผลไปสู่ข้าราชการอื่นๆ และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อให้กำลังพลและประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานได้
กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 23 ปฏิบัติตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารอากาศ โดยเฉพาะในเรื่องการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและกระแสพระราชดำรัส “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการของกองทัพอากาศ โดยมีกรอบแนวคิด ๒ แนวทาง คือ การให้เป็นหน่วยแห่งการเรียนรู้ และการให้เป็นหน่วยแห่งการมีส่วนร่วม ด้านการอนุรักษ์ มีการอนุรักษ์ 3 ด้านคือ การอนุรักษ์ดิน การอนุรักษ์ต้นไม้ และการอนุรักษ์อากาศ |
ด้านงบประมาณและการบริหารการเงิน |
การบริหารด้านการเงินนอกงบประมาณ ด้วยการระดมหุ้นจากข้าราชการ ได้เงินรวม 167,500บาท ดำเนินกิจกรรมด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายทุกโครงการ
|
ด้านการพัฒนาบุคลากร |
ด้านการพัฒนาความรู้ หน่วยให้ความสนใจในการเตรียมความพร้อมของกำลังพลก่อน โดยโครงการมุ่งพัฒนาคนเพื่อพัฒนาความรู้และเพิ่มศักยภาพของบุคลากร ได้แก่ โครงการพัฒนาภาษาอังกฤษ โครงการศึกษาเพิ่มเติมระดับ ปวส. ,ปริญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและการเกษตร การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับทหารกองประจำการ
ทุกวันพฤหัสบดี จะมีการอบรมทหารกองประจำการ รวมทั้งมีการนำตัวอย่างการดำเนินงานจากอดีตพลทหารเก่าที่ประสบความสำเร็จมาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับทหารกองประจำการ ซึ่งการถ่ายทอดได้รับผลดี และเน้นให้ความรู้พลทหารในการลดใช้ปุ๋ยเคมีและการปลูกพืชเชิงเดี่ยวโดยการนำความรู้ไปถ่ายทอดต่อที่ภูมิลำเนาของตน เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินงานโครงการเอง จะมีการพบปะพูดคุยกันอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง รวมทั้งจะมีผู้ที่มีความรู้จากภายนอกมาร่วมสนทนาด้วย เพื่อเป็นการปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้น ด้านคุณธรรม จริยธรรม ปัจจุบันหน่วยจะเน้นคุณธรรมเรื่องความอดทนและความขยัน เพื่อให้สามารถประกอบกิจกรรมได้สำเร็จ และมีการประกอบกิจกรรมทางศาสนา ด้านสวัสดิการ กองบิน ๒๓ มีสหกรณ์ออมทรัพย์และดูแลกองทุนสวัสดิการ ให้การบริการกำลังพลเป็นส่วนรวม ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต เริ่มโครงการด้านการเกษตรของหน่วยประมาณ ต.ค.58 โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ มีพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ ทุนดำเนินการ เมื่อเริ่มโครงการ ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินงาน มีการระดมหุ้นจำนวน 335 หุ้นๆละ 500 บาท ได้เงินรวม 167,500บาท และมีการเพิ่มพูนความรู้ให้กำลังพล โดยได้นำกำลังพลประมาณ 70 คน ศึกษาดูงานในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนคร เมื่อประมาณ เม.ย.58 หลังจากกลับมากำลังพลมีความตื่นตัวทำแบบจริงจังหลายคน ในพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้มีโครงการเลี้ยงสุกร เลี้ยงปลา 4 บ่อ ไก่บ้าน ไก่เนื้อ ไก่งวง เป็ด ห่าน เลี้ยงปลาดุกบ่อซีเมนต์ กบ ผักไฮโดรโปนิกส์ ปลูกมะนาว เพาะเห็ดนางฟ้า2 โรง โดยแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดูแลทุกโครงการๆละ 2 คน จากการดำเนินงานโครงการ มีข้าราชการดูตัวอย่างและนำไปใช้ โดยมีการขอใช้พื้นที่ว่างเปล่าของ กองบิน 23 เพื่อนำมาทำกิจกรรม ปัจจุบันมีข้าราชการดำเนินการแล้วโดยมีพื้นที่รวมประมาณ 10 ไร่ และหน่วยช่วยผลักดันเรื่องการตลาดให้ด้วย สถานการณ์ปัญหายาเสพติด มีการแพร่ระบาดในหมู่กำลังพลพลทหาร ประมาณร้อยละ 50 หน่วยจัดทำโครงการกลุ่มประกันใจ จัดกลุ่มละ 5 คน ดูแลพูดคุยห้ามปรามซึ่งกันและกัน รวมทั้งร่วมกับโรงพยาบาลจัดทำโครงการจิตอาสา มีการคัดกรอง การตรวจปัสสาวะ การให้ความรู้ กระบวนการบำบัดรักษา มีการประเมินผล รวมทั้งพบปะพูดคุยทำความเข้าใจกับญาติที่มารับห้วงลาพักกลับบ้าน และเมื่อกลับมาจากบ้านมีการตรวจปัสสาวะด้วย และให้พลทหารรุ่นพี่ที่สามารถเลิกยาเสพติดได้มาแนะนำรุ่นน้อง ตามโครงการพี่พบน้องซึ่งจะได้ผลดีมาก |
ด้านผลสัมฤทธิ์ |
การดูงานศูนย์การเรียนรู้จากบุคคลภายนอก โดยมีเยาวชนเข้ามาดูงานอย่างต่อเนื่อง |
ประเภทที่ 2 หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ | |||
รางวัลชนะเลิศ | |||
เจ้าของผลงาน | : | หมู่บ้านหัวแท จังหวัดพิษณุโลก | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพอากาศ |
ความโดดเด่น |
บ้านหัวแท ได้เริ่มต้นการพัฒนาจากสภาพพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาที่ดีพอ ซึ่งเดิมในหมู่บ้านชาวบ้านติดสุรา มีอบายมุขและยาเสพติดในพื้นที่มาก แต่ความมุ่งมั่นของผู้นำและชาวบ้านเอง ที่จะทำให้ตนเองหลุดพ้นจากภาวะตกต่ำที่เป็นอยู่ และสามารถพัฒนาตนเองให้สามารถพออยู่พอกินได้ ด้วยการจัดกิจกรรมเลิกเหล้า เลิกจน ครอบครัวมีสุข กระทั่งได้เป็นหมู่บ้านต้นแบบของ สสส. ในการเลิกเหล้า มีการพัฒนาตนเอง ให้มีการประหยัดรายจ่าย ทำเองมากขึ้น ซื้อหาน้อยลง มีการรวมกลุ่มช่วยเหลือแบ่งปัน มีกลุ่มกองทุนที่แข็งแกร่ง มีเงินทุนที่มั่นคง ชาวบ้านเองไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันมีความสามัคคีกันมากขึ้น ชุมชนเกิดบรรยากาศการเรียนรู้ หาวิธีการแนวทางใหม่ๆ มาทดลองทำและพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในหมู่บ้านเมื่อนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ |
ประวัติหมู่บ้านโดยสังเขป |
บ้านหัวแท หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านกร่าง เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ เดิมนั้นมีอยู่ไม่กี่หลังคาเรือนซึ่งต่อมามีผู้คนได้เข้ามาจับจองที่ดินทำกินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆซึ่งพื้นที่อยู่ห่างจากตัวตำบลประมาณ 6 กิโลเมตร การสัญจรไปมาลำบากจึงได้สร้างที่อยู่อาศัยขึ้น เมื่อมีจำนวนมากจึงตั้งเป็นหมู่บ้านและได้ตั้งชื่อเป็นหมู่บ้านหัวแท ซึ่งมีประวัติที่สำคัญเกี่ยวกับไก่ชนเหลืองหางขาว ซึ่งเป็นไก่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนำไปชนกับไก่พม่าและชนะไก่พม่า จึงทำให้บ้านหัวแทเป็นต้นกำเนิดของไก่เหลืองหางขาว
ประชาชนส่วนใหญ่ของบ้านหัวแท มีอาชีพทำการเกษตร ทำนา และรับจ้าง ชาวบ้านส่วนใหญ่หลังจากเสร็จจากการประกอบอาชีพแล้วตกเย็นจะรวมตัวกันเพื่อดื่มเหล้า เล่นการพนัน เมื่อเมาแล้วก็เกิดการทะเลาะวิวาทกัน แตกความความสามัคคี มีการเสียชีวิตเนื่องจากการดื่มเหล้าเฉลี่ยแล้วเดือนละ 1 - 2 คน นายมาโนช ช่างพินิจ ผู้ใหญ่บ้านจึงได้ประชุมปรึกษาหารือกับคณะกรรมการประจำหมู่บ้านและได้ดำเนินโครงการ เลิกเหล้า เลิกจน พัฒนาประชาชนให้มีคุณธรรม และพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จัดทำโครงการเลิกเหล้า เลิกจน ต่อมา กองบิน 46 ได้เข้ามาส่งเสริมการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำรงชีวิตของคนในหมู่บ้าน โดยการนำแกนนำและครัวเรือนเป้าหมายไปศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กองบิน 46 ทำให้ผู้นำหมู่บ้านและประชาชนเกิดแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตตามหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้นำแนวคิดมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตในครัวเรือน |
การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน |
ความพอประมาณ
มีกิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงจิ้งหรีด กลุ่มแม่บ้านทำน้ำพริกกระปุก การจักสาน กลุ่มทำไม้กวาด การทำโมบายสวยงามและมีการทำบัญชีครัวเรือน ความมีเหตุผล มีการประชุมประชาคมในหมู่บ้าน ทำให้เห็นการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ โดยมีการจัดประชาคมเพื่อวางแผนการพัฒนาหมู่บ้าน มีการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านทุกเดือน ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ จะมีการประชุมและลงมติให้ความเห็นชอบทุกครั้ง ภูมิคุ้มกัน บ้านหัวแท มีกลุ่มเครือข่าย โดยมีการรวมกลุ่มกันเพื่อประกอบอาชีพ เช่น กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน ๒ กองทุน กองทุนประปาหมู่บ้าน กลุ่มกองทุนเศรษฐกิจรายย่อย (ปุ๋ย สุกร) กลุ่มฌาปนกิจหมู่บ้าน กองทุน ศพช. กองทุนแม่บ้านน้ำพริก ด้านเด็กและเยาวชน ได้มอบหมายให้เด็กและเยาวชนร่วมรณรงค์เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ด้วยการประกวดวาดภาพ ประกวดเรียงความ และให้เด็กเยาวชนร่วมบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ การเก็บกวาดทำความสะอาดในหมู่บ้าน ร่วมสร้างสิ่งปลูกสร้างในวัด การให้คนรุ่นใหม่มาร่วมงานในคณะกรรมการหมู่บ้าน การปฏิบัติธรรมในวัด กิจกรรมเสริมสร้างให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัวและการให้ความสำคัญ เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส มีอาสาสมัครกลุ่มเยี่ยมถามไถ่กลุ่มผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ความรู้คู่คุณธรรม มีกิจกรรมการบรรยายธรรมและการปฏิบัติธรรม แผนพัฒนาชุมชน ได้วิเคราะห์จุดแข็งของหมู่บ้านคือ เป็นต้นกำเนิดไก่เหลืองหางขาว จึงใช้เป็นแนวทางประชาสัมพันธ์เพื่อจำหน่ายและส่งเสริมการท่องเที่ยวของหมู่บ้านได้ และในหมู่บ้านยังมีพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์สุนัขพันธุ์บางแก้วจำนวนมาก จึงสามารถนำมาเสริมเกื้อกูลกันกับกิจกรรมไก่เหลืองหางขาวดังกล่าวได้ด้วย รวมทั้งปัจจุบันมีแผนงานการปรับภูมิทัศน์ริมคลองส่งน้ำใกล้ศาลากลางบ้าน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในหมู่บ้าน ซึ่งปัจจุบันมีโฮมเสตย์แล้ว ๑ แห่ง ส่งเสริมการเพาะพันธุ์ไก่เหลืองหางขาว สุนัขพันธ์บางแก้วเพื่อจำหน่ายด้วย ปัจจุบันมีชาวบ้านที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปฏิบัติได้ผลดีแล้วประมาณ ร้อยละ 70 |
การขยายผลการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ภายนอก |
ที่สำคัญคือ การเผยแพร่การลด ละ เลิก เหล้า ตามโครงการเลิกเหล้า เลิกจน ครอบครัวมีสุข
ความเปลี่ยนแปลงในหมู่บ้านเมื่อนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ 1. หมู่บ้านมีการวางแผนในการพัฒนาตนเอง พัฒนาหมู่บ้าน โดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต มีการประหยัดพลังงาน / ประหยัดรายจ่าย ซื้อให้น้อยลง/ทำเองได้ มีการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคทุกครัวเรือน หากเหลือจะแบ่งปัน และขายเพื่อเพิ่มรายได้ 2. ชุมชนเกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ 3. การรวมกลุ่มของชาวบ้าน ที่นำมาซึ่งความรัก ความสามัคคี 4. ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น 5. คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่ และอบายมุขต่างๆ |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 | |||
เจ้าของผลงาน | : | หมู่บ้านบ่อลึก จังหวัดจันทบุรี | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพเรือ |
ความโดดเด่น |
จากสภาพภูมิประเทศของจังหวัดจันทบุรีทำให้บ้านบ่อลึกประกอบอาชีพทำสวนผลไม้เป็นหลัก จึงทำให้การบริหารจัดการน้ำมีความสำคัญเพื่อให้มีน้ำมาหล่อเลี้ยงไม้ผลได้เพียงพอ เนื่องจากชาวบ้านมีความขยันและมีความสามัคคีกันจึงได้มีการบริหารจัดการน้ำทั้งการวางท่อและติดตั้งเครื่องสูบน้ำจากแม่น้ำจันทบุรี ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันหลายหมู่บ้าน และยังบริหารจัดการน้ำโดยการทำแก้มลิงกักเก็บน้ำและสูบน้ำไปใช้ในสวนตามไหล่เขา ทำให้มีน้ำเพียงพอและทำให้ผลไม้มีรสชาติดีมีราคา ประกอบกับในหมู่บ้านมีสถานที่รับซื้อผลไม้หลายแห่ง จึงทำให้ชาวบ้านมีอำนาจต่อรองกำหนดราคาผลผลิตของชุมชนได้ รวมทั้งทุกภาคส่วนในชุมชนให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จนกระทั่งได้รับการยอมรับจากส่วนราชการเป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ซึ่งถือว่าเป็นภูมิคุ้มกันที่ดี |
ประวัติหมู่บ้านโดยสังเขป |
บ้านบ่อลึก หมู่ที่ 5 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่การปกครองของเทศบาลตำบลพลับพลา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองจันทบุรี ประมาณ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 1,200 ไร่ มีครัวเรือน จำนวน 60 ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๒๐๗ คน บ้านบ่อลึกเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขา อยู่ใกล้กับเทือกเขาสระบาป ต้องทำการเจาะบ่อบาดาลให้ลึกมากจึงจะได้น้ำใช้ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อบ้านบ่อลึก ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพหลักคือ ทำสวนผลไม้ อาชีพรองคือ การรับจ้างและค้าขาย
ในการดำเนินการประยุกต์ใช้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชาวบ้านได้เห็นหมู่บ้านข้างเคียงที่ได้ดำเนินการในเรื่องของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ดังนั้นชาวบ้านในหมู่บ้านจึงได้มีความตั้งใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่จะช่วยกันทำให้หมู่บ้านมีความสำเร็จในการใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตของคนในหมู่บ้านซึ่งแต่เดิมนั้นได้ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้จัดตั้งให้ครบองค์ประกอบ จึงได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ ซึ่งมีการปลูกพืชผักสวนครัวและทำปุ๋ย การบริหารจัดการกับแหล่งต้นน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติเพื่อใช้ในหมู่บ้านโดยได้ร่วมกันทำฝายชะลอน้ำ ปลูกฝังการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ การแบ่งปันผลผลิตที่มีอยู่ในแต่ละครัวเรือน จัดระบบการออมในระดับชุมชน มีการประชุมตามระยะเวลาเป็นประจำเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผลสำเร็จของการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านสามารถพึ่งพาตนเองได้ อยู่อย่างพอเพียงได้อย่างยั่งยืน และสามารถเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ |
การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน |
ความพอประมาณ
ชาวบ้านมีการทำปุ๋ยขึ้นใช้เอง โดยการทำปุ๋ยฮอร์โมนจากปลาหมัก ผลไม้ ฮอร์โมนไข่เพื่อเร่งดอก มีการทำสวนผลไม้ ทั้งเงาะ ทุเรียน มังคุด ลำไย รวมทั้งการปลูกพืชผักสวนครัวแทรกตามสวนผลไม้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ ด้านการออม มีกองทุนกลุ่มออมทรัพย์ ซึ่งมีทุนดำเนินงาน 2 ล้านบาท สมาชิก 140 คน จาก 40 ครัวเรือน ความมีเหตุผล ราษฎรในหมู่บ้านมองเห็นศักยภาพของตนเอง จึงได้พิจารณาร่วมกันเตรียมจัดทำแผนจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยจะลงข้อมูลเชิญชวนในเว็บไซต์ ทั้งนี้กลุ่มราษฎรในหมู่บ้านได้เคยเดินทางไปศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดระยอง ซึ่งมีโฮมสเตย์และกิจกรรมการท่องเที่ยวในหมู่บ้านเพื่อเป็นแบบอย่างแล้ว การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ ลักษณะสวนไม้ผลส่วนหนึ่งจะอยู่ตามไหล่เขา เจ้าของสวนจะสร้างฝายเก็บกักน้ำจากลำห้วยบนเขาเป็นระยะตามพื้นที่สวน รวมทั้งทำแก้มลิงกักเก็บน้ำและสูบน้ำไปใช้ในสวนตามไหล่เขา นอกจากนี้ยังวางท่อสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว จากแม่น้ำจันทบุรี ระยะทางประมาณ 10 กม. โดยรัฐสนับสนุนงบประมาณให้ 6 ล้านบาท ชาวบ้านช่วยออกเงินประมาณ 5 ล้านบาท รวมทั้งจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ แนวท่อดังกล่าวได้ใช้ผลประโยชน์ร่วมกัน 7 หมู่บ้าน ภูมิคุ้มกัน บ้านบ่อลึกมีศูนย์สาธิตการตลาดสำหรับขายสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคภายในหมู่บ้าน มีสถานที่รับซื้อผลไม้หรือล้ง จำนวน 13 แห่ง ด้านสวัสดิภาพหรือสวัสดิการสังคม มีชมรมผู้สูงอายุ โดยจัดกิจกรรมสวดมนต์ถือศีลทุกวันพระร่วมกับหมู่บ้านอื่นๆ ซึ่งมีวัดที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน 5 หมู่บ้าน เป็นการแสดงถึงความสามัคคีของราษฎรในพื้นที่ รวมทั้งได้ร่วมกับเทศบางตำบลพลับพลาดูแลสวัสดิการผู้พิการในหมู่บ้าน มีกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน โดยกลุ่มเยาวชนส่วนใหญ่จะช่วยเหลือผู้ปกครองดูแลสวนผลไม้ มีการจัดตั้งกลุ่มกีฬาฟุตบอลเพื่อให้เยาวชนมีกิจกรรมเพื่อลดปัญหายาเสพติด มีกองทุนจ่ายทุนการศึกษาสำหรับเยาวชนซึ่งมีการจ่ายเงินอย่างสม่ำเสมอ และยังมีกองทุนแม่ของแผ่นดิน เพื่อช่วยลดปัญหายาเสพติดอีกด้วย กิจกรรมด้านส่งเสริมความสามัคคี มีการแข่งกีฬา การจัดพิธีรดน้ำสงกรานต์ พิธีลอยกระทง การสวดมนต์ร่วมกัน และยังมีกลุ่มอาสาสมัคร โดยการจัดตั้งกลุ่ม 25 ตาสับปะรด เพื่อช่วยสอดส่องดูแล ระแวดระวังและหาข้อมูลทุกเรื่องในหมู่บ้านเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาภายในของหมู่บ้าน จากการที่หมู่บ้านประกอบอาชีพทำสวนมาก จึงทำให้มีแหล่งทำงานจำนวนมาก และไม่มีการอพยพแรงงานจากหมู่บ้าน ทำให้สภาพครอบครัวมีความสมบูรณ์ อยู่กันด้วยความอบอุ่น ความรู้คู่คุณธรรม บ้านบ่อลึก มีวัดที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน 5 หมู่บ้าน จำนวน 1 วัด คือวัดโป่งแรด มีการสวดมนต์ร่วมกันทุกวันพระ มีการทำแผนชุมชนซึ่งจัดทำขึ้นจากการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยมีการลงมติให้ความเห็นชอบ |
การขยายผลการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ภายนอก |
มีกลุ่มมาดูงานที่บ้านบ่อลึก รวมทั้งจากประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนด้วย รวมทั้งบ้านบ่อลึก ได้รับรางวัลระดับอำเภอ และรางวัลของพัฒนาชุมชน ระดับ พออยู่ พอกิน |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 | |||
เจ้าของผลงาน | : | หมู่บ้านตระกูลชัย จังหวัดศรีสะเกษ | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา |
ความโดดเด่น |
บ้านตระกูลชัยชาวบ้านมีสามัคคีธรรม มีกิจกรรมที่หลากหลาย ภายในหมู่บ้านมีศูนย์การเรียนรู้ มีกิจกรรมการทำปุ๋ยอัดเม็ด มีกลุ่มโรงสี มีธนาคารข้าวเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีการบริหารจัดการเงินทุนของกลุ่มทำนา มีกลุ่มออมทรัพย์ การให้ความสนใจกลุ่มผู้สูงอายุ โดยการให้ทำกิจกรรมร่วมกัน อาทิเช่น การทอเสื่อจากต้นกก ซึ่งนอกจากสร้างรายได้แล้ว ยังทำให้กลุ่มผู้สูงอายุมีโอกาสพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันอีกด้วย |
ประวัติหมู่บ้านโดยสังเขป |
บ้านตระกูลชัย หมู่ที่ 14 ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ เดิมอยู่ในพื้นที่บ้านตาปรก ซึ่งแยกเป็น 2 คุ้ม คือคุ้มที่ 1 บ้านตาปรกเก่าปัจจุบัน และคุ้มที่2 บ้านตระกูลชัยปัจจุบัน ในสมัยที่นายสถิตย์ แก้วธรรม เป็นผู้ใหญ่บ้านตาปรก เห็นว่าการดูแลการปกครองไม่ทั่วถึง จึงได้เสนอขอให้แยกหมู่บ้านและได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งหมู่บ้านใหม่เมื่อปี พ.ศ.2536 ตั้งชื่อว่าบ้านตระกูลชัยนับตั้งแต่นั้นมา
บ้านตระกูลชัย มีพื้นรวมทั้งหมด 1,500ไร่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับการทำนา ปลูกข้าว ทำไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง ซึ่งการประกอบอาชีพเกษตร จะอาศัยน้ำฝนในช่วงฤดูฝน |
การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน |
แรงจูงใจของชาวบ้านที่ได้ปรับเปลี่ยนมาดำเนินชีวิตตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เริ่มต้นจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 53 ได้ให้ความรู้ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และนางสัมฤทธิ์ฯ ได้ใช้ความรู้มาทำปุ๋ยจุลินทรีย์ได้ผลดี และชักชวนผู้อื่นมาตั้งกลุ่มทำปุ๋ย ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 30 คน และต่อมาหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 53 จึงสนับสนุนเครื่องอัดเม็ดปุ๋ยให้ รวมทั้งสนับสนุนให้บ้านตระกูลชัยพัฒนาตนเองจนกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ เป็นแบบอย่างการพัฒนาให้กับชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง
ความพอประมาณ กิจกรรมการประกอบอาชีพในหมู่บ้าน มีกิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงโค ทำปุ๋ย เลี้ยงจิ้งหรีด เลี้ยงกบ และยังมีกลุ่มโรงสีข้าว โดยหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๕๓ สนับสนุนเครื่องสีข้าวให้ ด้านการเงิน มีกองทุนกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กองทุนกลุ่มทำนา รวมทั้งมีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแล การทำบัญชีครัวเรือน ความมีเหตุผล มีกระบวนการทำแผนชุมชน รวมทั้งมีการจัดลำดับความเร่งด่วนของแผนงานโครงการของหมู่บ้านที่อยากทำ อาทิเช่น การขุดลอกร่องน้ำริมถนนของหมู่บ้าน การสนับสนุนกลุ่มเลี้ยงสุกร การขยายการบริการน้ำประปา การพัฒนาป่าชุมชน ภูมิคุ้มกัน มีชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2553 มีสมาชิก 106 คน มีการทอเสื่อ และกิจกรรมรวมกลุ่มพบปะกัน ความรู้คู่คุณธรรม มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยได้รับการฝึกอบรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจาก นพค.53 ปัจจุบันมีสมาชิก 50 คน มีเงินทุนสะสม 100,000 บาท มีคณะกรรมการ 7 คน มีการดำเนินงานตามโครงการบ้าน วัด โรงเรียน ซึ่งวัดประจำหมู่บ้าน คือ วัดศรีตระกูลชัย รวมทั้งมีกิจกรรมตามประเพณีต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือก ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีสารทไทย และประเพณีในวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ |
การขยายผลการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ภายนอก |
ปัจจุบัน ศูนย์การเรียนรู้บ้านตระกูลชัย มีคนมาดูงานแล้ว 21 กลุ่ม จำนวน 2,150 คน ซึ่งมีกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยมีเอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังจัดวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้การทำปุ๋ยกองโตให้หมู่บ้านสำโรงเก่า การถ่ายทอดองค์ความรู้การทำปุ๋ยให้โรงเรียน |
ประเภทที่ 3 ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหน่วยทหารหรือตำรวจ |
|||
รางวัลชนะเลิศ | |||
เจ้าของผลงาน | : | ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เฉลิมพระเกียรติ 44 พรรษา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาเทิดไท้มหาราชัน | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา |
ประวัติความเป็นมา |
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ มาทรงเปิดโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านทางหลวง และทางสำนักพระราชวังได้มอบหมายให้หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 22 สำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็นหน่วยรับผิดชอบโครงการ มีการนำครอบครัวที่ยากจนขาดแคลนที่ดินทำกินมาพักอาศัยในพื้นที่ที่กำหนด มุ่งเน้นให้ราษฎรรู้จักใช้ที่ทำกินที่จำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้มีผลผลิตเลี้ยงครอบครัวได้
เมื่อปี 2552 หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 22 ได้จัดตั้งพื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษาจนเมื่อปี 2554 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาได้จัดทำโครงการ “84 พรรษา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เทิดไท้มาหาราชัน” ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นหนึ่งใน 84 ศูนย์ ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา |
การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
การดำเนินงานของศูนย์ฯ ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชมนำไปใช้ในการดำรงชีวิตเพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต จากการดำเนินชีวิตตามกระแสสังคมที่ให้ความสำคัญกับค่านิยมทางวัตถุ จนเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์เนื่องจากภาระหนี้สินนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเอง และครอบครัว ตลอดจนประเทศชาติบ้านเมือง
เมื่อเข้ามาศึกษาดูงานภายในศูนย์ฯแห่งนี้แล้ว จะเห็นความเรียบง่ายในการบริหารจัดการศูนย์ฯ และวิถีชีวิตของคนในศูนย์ฯ ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรม สามารถเป็นต้นแบบผู้เข้าชม นำไปปฏิบัติได้เหมาะสมกับภูมิประเทศและสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแต่ ละกิจกรรมใช้ภูมิปัญญาจากปราชญ์ชาวบ้านที่สะสมความสำเร็จในพื้นที่ ในแต่ละกิจกรรมสามารถนำมาเป็นอาชีพทำให้เพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน รวมทั้งสามารถขยายโอกาสให้กับผู้สนใจอื่นๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความกินดีอยู่ดี ของประชาชนโดยทั่วกัน |
ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ความโดดเด่นคือ มีการจัดการภายในศูนย์ฯได้อย่างสมบูรณ์ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ เริ่มตั้งแต่เมื่อคณะศึกษาดูงานเข้าไปถึง จะมีเจ้าหน้าที่กล่าวต้อนรับ พร้อมแนะนำหน่วยด้วย วีดีทัศน์ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ห้องเรียนที่เรียบง่าย ในอาคารชั่วคราวสร้างโดยใช้ต้นทุนต่ำ มีบอร์ดกิจกรรมเสนอผลงานตามแนวพระราชดำริ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
ภายในศูนย์การเรียนรู้ มีกิจกรรมต่างๆ แสดงให้เห็นสอดคล้องกับวิถีของชุมชน มีผู้บรรยายแต่ละฐานการเรียนรู้ มีตัวอย่างการปฏิบัติจริง แสดงให้เห็นผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ การบรรยายขั้นตอนการปฏิบัติชัดเจน เช่น ฐานการเลี้ยงโคเนื้อ การนำโคเนื้อมาสาธิตการเลี้ยงแบบโรงเรือน และการให้อาหารโค ฐานบ้านพอเพียงก็จะมีการจัดสร้างบ้าน จัดเจ้าหน้าที่ 1 ครอบครัว สาธิตความเป็นอยู่ โดยมีกิจกรรมการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงปลา และการปลูกพืชสมุนไพร ทำให้มีรายได้เลี้ยงตัวเองอย่างพอมีพอกิน ไม่เดือดร้อน มีชีวิตอย่างมีความสุข ในแต่ละปีมีผู้เข้าเยี่ยมชมศึกษาหาความรู้ประมาณ 3,000 คน มีเกษตรกรในท้องที่ อ.ธาตุพนม อ.ท่าอุเทน และ อ.เมือง จ.นครพนม ได้นำความรู้กลับไปทำการเกษตรแบบผสมผสานแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้มีความพออยู่พอกิน มีรายได้มากขึ้น |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 | |||
เจ้าของผลงาน | : | ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กองบิน 46 | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพอากาศ |
ประวัติความเป็นมา |
กองบิน 46 ตั้งอยู่ที่ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ได้ก่อตั้งศูนย์ฯการเรียนรู้ โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาหน่วยงาน ตั้งแต่ปี 2553 เพื่อรวบรวมความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างงาน สร้างอาชีพ ที่มีประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชน อีกทั้งเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ของแต่ละชุมชนและแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการและครอบครัว เป็นต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการและครอบครัว ตลอดจนเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ สำหรับประชาชนทั่วไป |
การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งศูนย์เพื่อเผยแพร่ความรู้ต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหน่วยแห่งการเรียนรู้ เป็นการติดอาวุธทางปัญญา เพื่อยกระดับการศึกษาและคุณภาพชีวิตข้าราชการของหน่วย ตลอดจนบุคคลที่เข้ารับการศึกษาเรียนรู้ มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานท้องถิ่นมาประกอบกิจกรรมได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการประชาชนและเอกชนเป็นอย่างดี
ในทุกกิจกรรมช่วยให้ประชาชน และกำลังของกองบิน 46 ได้ไปศึกษาเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติ ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ลดการพึ่งพาจากภายนอก ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น สังคมน่าอยู่ ปลอดอบายมุข มีระเบียบวินัย ช่วยเหลือแบ่งปันกัน ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความเข้มแข็งแบบยั่งยืน |
ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ศูนย์การเรียนรู้ แห่งนี้ เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีขนาดใหญ่ การนำเสนอกิจกรรมต่างๆ การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การปลูกพืชสมุนไพร, โครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย และบางกิจกรรมต้องใช้ต้นทุนสูง ไม่สามารถทำได้ในระดับของเกษตรกร แต่จะเหมาะสำหรับนักศึกษา เจ้าหน้าที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปขยายผลในการพัฒนาประเทศได้ กิจกรรมที่โดดเด่นของศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้คือ โครงการไบโอดีเซล โครงการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และการอบกล้วยด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ในแต่ละปีมีผู้เข้าเยี่ยมชม ศึกษาหาความรู้มากกว่า 10,000 คน โดยมีผู้ที่นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เช่น การสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ การปลูกดาวเรืองเพื่อตัดดอกขายเป็นรายได้หลักของครอบครัว และปลูกพืชผักไว้กินเองเป็นจำนวนมาก |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 | |||
เจ้าของผลงาน | : | ศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ์ | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพเรือ |
ประวัติความเป็นมา |
เมื่อปี พ.ศ.2550 กองทัพเรือได้จัดทำโครงการวิถีชีวิต ข้าราชการกองทัพเรือ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 80 พรรษา จึงมอบหมายให้ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่กำลังพลกองทัพเรือ และเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปเข้ามาศึกษาเรียนรู้ โดยมุ่งหวังให้มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีต่อพสกนิกรชาวไทยซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2550 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 โดย พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ขณะนั้นเป็นประธาน ปัจจุบัน ดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยการพึ่งพาตนเอง มาโดยตลอด และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี |
การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็นศูนย์ฯที่มีคนรู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีประชาชนหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ขอเข้าศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง ผู้เข้าชมพึงพอใจ ได้รับความรู้อย่างครบถ้วน ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถชมกิจกรรมต่างๆ แล้วนำไปปฏิบัติได้ แต่ละกิจกรรมต่างๆ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งเหมาะกับชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนภาคตะวันออก ตลอดจนมีการบริหารจัดการพื้นที่อย่างลงตัว แต่ละกิจกรรมสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส ตลอดจนกิจกรรมที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น การปลูกหญ้าแฝก เกษตรทฤษฎีใหม่ จำนวน 9.9 ไร่ และมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น จักรยานปั่นน้ำประหยัดพลังงาน การเลี้ยงสัตว์ปีก การผลิตอาหารสัตว์ ฐาน 1 ไร่ พอเพียง โครงการอนุรักษ์ควายไทย การสร้างบ้านดิน และสวนครัวลอยน้ำ |
ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีการจัดวางกิจกรรมภายในศูนย์ฯ สมบูรณ์แบบ ในพื้นที่ประมาณ 48 ไร่ มีกิจกรรมต่างๆ แสดงตามวงรอบการเดินเยี่ยมชมอย่างเป็นระเบียบ ผู้เข้าเยี่ยมชมใช้เวลาศึกษาเรียนรู้ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 2 ชั่วโมง โดยมีผู้นำชมและบรรยายในแต่ละกิจกรรม ภายในศูนย์มีการสาธิตงานด้านการเกษตรและปศุสัตว์ ตลอดจนกิจกรรมตามแนวพระราชดำริ มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ของแต่ละกิจกรรมอย่างสวยงาม เหมาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สำหรับบริการนักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวพักผ่อน ชมภูมิทัศน์ริมทะเลภาคตะวันออก แล้วเข้ามาชมศูนย์แห่งนี้ ได้รับความรู้ด้านการเกษตรและงานตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นศูนย์แห่งนี้เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัย และทุกอาชีพ ในแต่ละปีมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมศึกษาหาความรู้มากกว่า 10,000 คน โดยมีผู้นำความรู้ที่ได้รับไปทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ ปลูกผักกินเอง และจำหน่ายเป็นรายได้เสริม สร้างความอยู่ดี มีสุขภายในครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวข้าราชการทหารชั้นผู้น้อย
|
ประเภทที่ 4 ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง | |||
รางวัลชนะเลิศ | |||
เจ้าของผลงาน | : | ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 435 | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน |
ประวัติความเป็นมา |
กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 435 มีพื้นที่ 72 ไร่ มีพื้นที่ว่างเปล่าเป็นจำนวนมาก พื้นที่ดังกล่าวเหมาะสมที่จะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ผู้บังคับหน่วยจึงมีนโยบายให้ทุกครอบครัวทำการเกษตรหลังบ้าน เพื่อเป็นอาหาร และเพื่อปรับปรุงหน่วย ทำให้มีทัศนียภาพที่สวยงามมากขึ้น สร้างความร่มรื่น เป็นแหล่งที่อยู่ ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์สัตว์ ไม่ให้สูญพันธุ์ เช่น นก กระรอกและแมลงชนิดต่างๆ ที่จะสร้างระบบนิเวศน์ให้ดีขึ้น และเพื่อต้องการให้ข้าราชการตำรวจ และครอบครัวที่อาศัยอยู่บริเวณบ้านพักของทางราชการได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จึงมีแนวคิดเกี่ยวกับการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ มาประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต โดยเริ่มต้นจากการเลี้ยงปลา ได้ดำเนินการขุดสระ จำนวน 5 บ่อ เลี้ยงปลาชนิดต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดทำกิจกรรม ปลูกไม้ผล เช่น กระท้อน เงาะ กล้วย ขนุน มังคุด มะพร้าวน้ำหอม และปาล์ม |
การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ความพอประมาณ
ในการดำเนินกิจกรรมส่งผลให้สมาชิกในชุมชนเกิดความอยู่ดีมีสุขได้อย่างแท้จริง แต่ละครอบครัวทำกิจกรรมที่ตนเองถนัดและใช้แรงงานในครอบครัว โดยใช้เวลาว่างหลังเลิกงานมาปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว เลี้ยงปลา ผลจากการดำเนินการทำให้กำลังพล เกิดความภาคภูมิใจกับผลผลิตที่ได้รับ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความเสียสละไม่คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อย ความมีเหตุผล ชุมชนใช้พื้นที่ว่างเปล่ามาดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน มีรายได้ เช่น กิจกรรมการปลูกปาล์ม ปลูกทั้งหมด 240 ต้น ได้ผลผลิต เฉลี่ยเดือนละ 2,000 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน ประมาณ 8,000 บาท กิจกรรมการเลี้ยงผึ้ง จำนวน 25 รัง ได้ผลผลิตเฉลี่ยเดือนละ 2 ขวด กิจกรรมการเลี้ยงปลาและกิจกรรมการปลูกพืชผักและไม้ผล ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้น ให้ข้าราชการและครอบครัวได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน อีกทั้งยังใช้ที่ดินว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ ภูมิคุ้มกัน จากการทำกิจกรรมร่วมกันของข้าราชการและครอบครัวผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งจำหน่ายเป็นรายได้ เพื่อลงทุนต่อไป ส่วนที่เหลือ แจกจ่ายแบ่งปันให้กับเพื่อนสมาชิกข้าราชการตำรวจ โดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งจะเป็นลักษณะ เพื่อนช่วยเพื่อน ส่งเสริมเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน มีความรักสามัคคีกัน อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน รู้จักมัธยัสถ์ อดออม เสียสละอดทน ตลอดจนเป็นตัวอย่างให้กับชุมชน บริเวณรอบ ๆ หน่วย ความรู้ มีการประสานกับส่วนราชการ เพื่อนำความรู้มาดำเนินกิจกรรมของชุมชน เช่น สำนักงานเกษตร จังหวัดตรัง แนะนำเรื่องการปลูกพืช สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดตรัง แนะนำเรื่องการเลี้ยงโค ศูนย์วิจัยและพัฒนา การเลี้ยงผึ้งจังหวัดชุมพร แนะนำความรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดตรัง แนะนำความรู้ เรื่องการเลี้ยงปลา โดยข้าราชการได้นำความรู้ไปปฏิบัติ และขยายผลไปสู่ชุมชนรอบๆ หน่วย คุณธรรม มีการร่วมมือช่วยเหลือกันภายในชุมชน ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่น ช่วยเหลือพึ่งพากัน เป็นชุมชนที่เรียบง่าย ทุกคนช่วยเหลือ พึ่งพากันและเกื้อกูลกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรก็ตาม ในการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด มีการแบ่งปันซึ่งกันและกัน อีกส่วนหนึ่งจำหน่วยเพื่อเป็นกองหนุนหมุนเวียน |
จุดเด่น |
ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนแห่งนี้ เป็นชุมชนต้นแบบ ที่ทั้งข้าราชการและครอบครัว ตั้งแต่ระดับผู้บังคับกองร้อยลงมาจะมีความใกล้ชิดสนิทสนมช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ตลอดจนข้าราชการทุกระดับมีระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเองเป็นตัวอย่างสำหรับหน่วยงานอื่น ๆ
ภายในบริเวณชุมชนมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดความสวยงามสะอาดเรียบร้อย เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกพืชโดยใช้ยางรถยนต์เก่ามาเป็นภาชนะปลูกเป็นการลดค่าใช้จ่าย และนำวัสดุที่หมดอายุ มาใช้ประโยชน์ |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 | |||
เจ้าของผลงาน | : | ชุมชนครอบครัวสุขสันต์ กองเรือยุทธการ | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพเรือ |
ประวัติความเป็นมา |
ชุมชนครอบครัวสุขสันต์ หมู่ ๒ ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นชุมชนขนาดเล็ก มีครัวเรือน จำนวน 60 ครอบครัว มีประชากร 220 คน ชาย 117 คน หญิง 103 คน เป็นชุมชนที่ขึ้นการปกครองกับ กองเรือยุทธการ ประชากรเกือบทั้งหมด มีอาชีพรับราชการ ซึ่งจำแนกออกเป็น ทหารเรือ, พยาบาล, ครู, ลูกจ้างส่วนราชการ, แม่บ้าน, พนักงานโรงงานและค้าขาย |
การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ความพอประมาณ
มีการวิเคราะห์ถึงศักยภาพชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ในชุมชนโดยเฉพาะพื้นที่รกร้างว่างเปล่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนการเลี้ยงปลา โดยยึดหลักความพอดี ไม่มากไม่น้อยเกิน ความมีเหตุผล ชุมชนได้ร่วมกันศึกษาข้อมูลทางสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความพร้อมของชุมชน ด้วยเหตุผล และความรู้ความเข้าใจ และตัดสินใจ จัดทำแผนพัฒนาชุมชน โดยการแบ่งพื้นที่ และทำกิจกรรมด้านการเกษตร ภูมิคุ้มกัน มีการเตรียมความพร้อมรับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน วางแผนการใช้จ่ายประหยัดและอดออม โดยเฉพาะชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้โดยการรวมกลุ่ม มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยการปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาดุก สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ความรู้ มีการนำหลักวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนประกอบอาชีพดำเนินกิจกรรมของชุมชน โดยผู้นำชุมชนเข้าร่วมการฝึกพัฒนาความรู้ด้านต่างๆ ที่มีประโยชน์ในการประกอบอาชีพจากหน่วยงานราชการ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับสมาชิกทุกคน พร้อมทั้งมีการคัดแยกขยะเป็นขยะเปียก และขยะแห้งและนำมาใช้ประโยชน์เป็นวัสดุ ปลูกพืช คุณธรรม มีการให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกันภายในชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมความอบอุ่นในครอบครัว เช่น กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา การแข่งขันกีฬา การทำบุญ การพัฒนาวัด โดยใช้แนวทางการส่งเสริมความรู้ คู่คุณธรรม ชุมชนได้รับการคัดเลือกจากส่วนราชการ ให้เป็นชุมชนต้นแบบในด้านต่างๆ เช่น ชุมชนน่าอยู่ รับรู้ปัญหา ชีวาสดใส และชุมชนรวมพลังหยุดยั้งยาเสพติดอย่างยั่งยืน โดยมี น.ท.มานพ พรายมี ประธานชุมชน เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการเชื่อมโยงกิจกรรมอื่นๆ ของชุมชน อาทิเช่น การตกแต่งและทำความสะอาดบริเวณหน้าบ้านพักให้สะอาดเรียบร้อย จัดหาตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเพื่อชุมชน ติดตั้งตู้รับเรื่องร้องทุกข์ของชุมชน เพื่อรับรู้ปัญหาชุมชน |
จุดเด่น |
ชุมชนมีการรวมตัวกัน เพื่อสร้างพลังของกลุ่ม ในการนำผลผลิตทางการเกษตรจำหน่าย โดยไม่ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง สมาชิกในชุมชน ช่วยกันรักษาความสะอาดตลอดจนช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชนปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน สังคมยอมรับ และสามารถแก้ปัญหาอื่นๆ ของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมาชิกในชุมชน ดำรงชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 | |||
เจ้าของผลงาน | : | ชุมชนเพชราวุธ ร.11 พัน.2 รอ. | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพบก |
ประวัติความเป็นมา |
ชุมชนเพชราวุธ ร.11 พัน.2 รอ. เป็นชุมชนที่ประกอบด้วยกำลังพล และครอบครัวของกองพันทหารราบที่ ๒กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ ซึ่งเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่แห่งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 โดยย้ายมาจากสะพานแดง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พื้นที่ชุมชนเป็นพื้นที่ราชพัสดุ ส่วนทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เนื้อที่ประมาณ 412 ไร่ 2 งาน 67 ตารางวา ซึ่งมี พันโท ณัฐพงศ์ บัวจันทร์ ผู้บังคับกองพันเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชา |
การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ความพอประมาณ
พัฒนาพื้นที่และทรัพยากรที่มีอยู่ในหน่วย และชุมชนให้เป็นประโยชน์ เช่น โครงการทำแปลงเกษตร พืชผักสวนครัว เนื่องจากธรรมชาติของกองพันในพื้นที่หลังบ้านพักมีจำนวนน้อย กำลังพลต้องการพื้นที่สำหรับเพาะชำ,วางต้นไม้สำหรับขายเป็นรายได้เสริมของหน่วย จึงจัดทำโครงการแปลงเกษตรในพื้นที่ว่างในชุมชนบ้านพักเป็นจุดๆ ให้ทั่วถึง โดยมีวัตถุประสงค์ให้กำลังพล ไว้ใช้สำหรับปรุงอาหารเพื่อลดรายจ่าย ส่วนที่เกินความต้องการก็นำมาใช้กับการประกอบเลี้ยงให้กับพลทหาร & |