เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 5 ธันวาคม 2560 กองทัพไทย จึงได้จัดการประกวดผลงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ 70 ปี ที่ได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากกว่า 4,596 โครงการ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่พี่น้องประชาชนชาวไทยทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งการจัดการประกวดผลงานการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกองทัพไทย ครั้งที่ 6 ในครั้งนี้ จะเป็นการยกระดับการน้อมนำผลการปฏิบัติของ บก.ทท. เหล่าทัพ และ ตร. ไปสู่การจัดการประกวดในระดับประเทศ เพื่อให้ บก.ทท. เหล่าทัพ ตร. และภาคประชาชนที่ได้รับการส่งเสริม สามารถน้อมนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และ การดำเนินชีวิตประจำวัน ให้มีความสุขได้อย่างยั่งยืน
2.1 เพื่อให้ข้าราชการทหาร ตำรวจ ครอบครัว และประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 5 ธันวาคม 2560
2.2 เพื่อเผยแพร่พระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่ประชาชนชาวไทยทุกภาคส่วน ในการปฏิบัติงาน และการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงและยั่งยืน
2.3 เพื่อส่งเสริมยกย่องและเชิดชูเกียรติ กำลังพล บก.ทท. เหล่าทัพ และ ตร. ตลอดจน ครอบครัวและประชาชนทั่วไป ที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิต จนประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
3.1 ประชุมเตรียมการจัดการประกวด (21 ก.ย.59)
3.2 ขออนุมัติดำเนินการตามโครงการฯ และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน (10-14 ต.ค.59)
3.3 ประชุมคณะกรรมการ (4 พ.ย.59)
3.4 การแถลงข่าวการจัดประกวดผลงาน (15 ธ.ค.59)
3.5 กำหนดรับสมัครผลงาน (ม.ค.-ก.พ.60)
3.6 การตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น (1-15 มี.ค.60)
3.7 ชุดตรวจดำเนินการตรวจผลในพื้นที่ ( พ.ค. - มิ.ย.60)
3.8 การขออนุมัติผลการประกวดและพิธีมอบรางวัล (ภายใน มิ.ย.60)
3.9 ประชุมเตรียมการจัดพิธีมอบรางวัล (5 ก.ค.60)
3.10 พิธีมอบรางวัล (สัปดาห์สุดท้าย ก.ค.60)
ใช้งบประมาณ ของ ศูนย์ประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง
การจัดการประกวดเป็นความร่วมมือกันระหว่าง กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีการดำเนินงาน ดังนี้
5.1 การเตรียมงานและประกาศเชิญชวน โดยจัดการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการประกวด การประชาสัมพันธ์ การเสนอเรื่องขออนุมัติ ต่อ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รวมทั้งการประกาศเชิญชวนให้ส่วนราชการใน กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทราบ
5.2 การรับสมัครและการตรวจผลงานที่ส่งเข้าประกวด โดยการรับสมัคร การส่งผลงานเข้าประกวดการตรวจผลงานที่ส่งเข้าประกวด และการตัดสินผลงานจากคณะกรรมการฯ
5.3 ขออนุมัติประกาศผลการตัดสินและพิธีมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวด ในห้วง มิ.ย.60 และจัดพิธีมอบรางวัลในห้วง ส.ค.60 โดยเรียนเชิญ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล
6.1 การรับรางวัล
6.1.1 ชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล จำนวน 50,000.-บาท
6.1.2 รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับถ้วยรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 พร้อมเงินรางวัล จำนวน 30,000.-บาท
6.1.3 รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับถ้วยรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล จำนวน 20,000.-บาท
6.1.4 รางวัลชมเชย ได้รับใบประกาศนียบัตร พร้อมเงินรางวัล จำนวน 10,000.-บาท
6.2 การจารึกชื่อ - สกุล และ ตำแหน่ง บนถ้วยรางวัล
6.2.1 ประเภทหน่วยงานต้นแบบที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติงาน จารึกชื่อ – สกุล และ ตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด บนถ้วยรางวัล
6.2.2 ประเภทศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหน่วยทหารหรือตำรวจ จารึกชื่อ – สกุล และ ตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด บนถ้วยรางวัล
6.2.3 ประเภทครอบครัวข้าราชการที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปดำเนินชีวิต จารึกชื่อ – สกุล และ ตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก บนถ้วยรางวัล
6.2.4 ประเภทหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ จารึกชื่อ – สกุล และ ตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารเรือ บนถ้วยรางวัล
6.2.5 ประเภทชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง (ผลงานของชุมชนบริเวณบ้านพักในหน่วยทหารหรือตำรวจ) จารึกชื่อ – สกุล และ ตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ บนถ้วยรางวัล
6.2.6 ประเภทประชาชนทั่วไป (ทุกสาขาอาชีพ) ที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยทหารหรือตำรวจ จารึกชื่อ – สกุล และ ตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บนถ้วยรางวัล
แบ่งการประกวดออกเป็น 6 ประเภท คือ
ประเภท | คุณสมบัติ |
ประเภทหน่วยงานต้นแบบที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติงาน |
หน่วยทหารหรือตำรวจที่นำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปปรับใช้ ในการทำงาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ผู้ร่วมงานสามารถอธิบายการทำงานโดยใช้แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้้ |
ประเภทศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหน่วยทหารหรือตำรวจ |
เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ที่ดำเนินการโดยหน่วยทหาร หรือตำรวจ |
ประเภทครอบครัวข้าราชการที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปดำเนินชีวิต |
ครอบครัวข้าราชการ ที่มีความประพฤติดี มีคุณธรรม และดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนประสบความสำเร็จอยู่ดีมีสุข สามารถเป็นแบบอย่างสำหรับประชาชนทั่วไป |
ประเภทหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ
|
เป็นหมู่บ้านที่ประกาศจัดตั้งโดยกระทรวงมหาดไทยตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ไม่น้อยกว่า 30 หลังคาเรือน และได้รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่ สร้างประโยชน์สุขให้ชุมชนโดยส่วนรวมมีความสามัคคี และสามารถพึ่งตนเองได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และไม่เคยได้รับรางวัลการประกวดด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับ จังหวัดหรือสูงกว่ามาก่อน |
ประเภทชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง (ผลงานของชุมชนบริเวณบ้านพักในหน่วยทหารหรือตำรวจ) |
ชุมชุนทหารหรือตำรวจ บริเวณบ้านพักที่มีสมาชิก ของชุมชนรวมตัวกันตั้งแต่ 10 ครัวเรือนขึ้นไป ที่นำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปปรับใช้ สามารถดำเนินชีวิตประจำวันอย่างอยู่ดี มีสุข ชาวชุมชนสามารถอธิบายการใช้ชีวิตประจำวันตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ |
ประเภทประชาชนทั่วไป (ทุกสาขาอาชีพ) ที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยทหารหรือตำรวจ
|
บุคคลที่มีความประพฤติดี มีคุณธรรม และดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนประสบความสำเร็จอยู่ดีมีสุข สามารถเป็นแบบอย่างสำหรับประชาชนทั่วไป และเคยได้รับรางวัลในการประกวดผลงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กองทัพไทย ในห้วง 2554-2559 |
คณะกรรมการแบ่งออกเป็น 4 คณะ คือ
8.1 คณะกรรมการดำเนินงานจัดการประกวดฯ จัดจากผู้แทนส่วนราชการ อาทิ กองบัญชาการกองทัพไทย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองกิจการพลเรือนทหาร กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.2 คณะอนุกรรมการตัดสินผลการประกวดฯ จัดจากผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานนโยบายและแผนกลาโหม ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 6 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองบัญชาการกองทัพไทย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองกิจการพลเรือนทหาร กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.3 คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์การประกวดฯ จัดจากผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมกิจการพลเรือนทหาร กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หน่วยที่ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ที่ต้องการเข้าประกวดในลักษณะ “เล่าเรื่องด้วยวีดิทัศน์” ความยาวประมาณ 5 นาที เพื่ออธิบายประวัติและผลงาน พร้อมแนบเอกสารที่มีภาพประวัติและผลงาน ประมาณ 10 ภาพ ส่งให้ ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง ตามระยะเวลาที่กำหนด
คณะกรรมการจะตรวจเอกสารจากหน่วยงานที่ส่งเข้าประกวดเป็นลำดับแรก และเดินทางไปตรวจพื้นที่จริงพร้อมกับสอบถามจากผู้ปฏิบัติเพื่อตัดสินผลงานต่อไป
กำลังพล กองบัญชาการกองทัพไทย เหล่าทัพ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจน ครอบครัว และประชาชนทั่วไป ได้แสดงออกซึ่งการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์โดยการเผยแพร่พระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานความช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ยาก ของพสกนิกรชาวไทยมาตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ
ประเภทที่ 1 หน่วยงานต้นแบบที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติงาน | |||
รางวัลชนะเลิศ | |||
เจ้าของผลงาน | : | กองกำกับการ 5 กองบังคับการฝึกพิเศษ | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน |
ความเป็นหน่วยต้นแบบ |
กองกำกับการ ๕ กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นหน่วยงานที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการปฏิบัติราชการส่งผลให้การปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพ มีจุดเด่นคือสามารถบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนได้อย่างดีเยี่ยมทำให้เกิดกิจกรรมที่หลากหลายในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับกำลังพลของหน่วยและประชาชนที่เข้ามาเยี่ยมชม ได้นำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็งและยั่งยืน |
ด้านนโยบายและการจัดหน่วย |
หน่วยดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบในการขับเคลื่อนนโยบาย ตามแผนกลยุทธ์โดยแบ่งเป็น 5 ยุทธศาสตร์ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจหลัก เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลและนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนางานตำรวจตระเวนชายแดนให้โปร่งใส มีมาตรฐาน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การมีส่วนร่วมของประชาชนและเครือข่ายการปฏิบัติงานของตำรวจ ตระเวนชายแดน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความเข้มแข็งในการบริหาร ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาหน่วยฝึก |
ด้านงบประมาณและการบริหารการเงิน |
หน่วยเน้นการบริหารงบประมาณให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักการใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วย เน้นการประหยัด โปร่งใส สมเหตุสมผล รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลเพื่อปรับปรุงการบริหารงบประมาณให้ดียิ่งขึ้น |
ด้านการพัฒนาบุคลากร |
มีแผนพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านความรู้ คุณธรรม รวมทั้ง จัดให้มีโครงการเชิดชูเกียรติข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนที่ประพฤติดีเยี่ยมตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ มีสื่อและช่องทางการให้ความรู้กับบุคลากรของหน่วย ดำเนินการประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ประชาชนหลากหลายช่องทาง มีการถ่ายทอดนโยบายให้ความรู้และเสริมสร้างวิถีชีวิตเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอหลายช่องทางและทำอย่างเป็นระบบ โดยมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ความรู้แก่กำลังพลและประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษา |
ด้านผลสัมฤทธิ์ |
เป็นหน่วยงาน/องค์กร แห่งความพอเพียง กก.5 บก.กฝ.บช.ตชด. เป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการฝึก เยาวชน ชุมชน องค์กร เอกชนต่างๆ ซึ่งได้รับการยอมรับศรัทธา จากหน่วยงานในพื้นที่ บุคลากรในหน่วยปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหน่วยงานหลักรับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่องและมั่นคงถาวร โดยมี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นผู้สนับสนุนและให้คำปรึกษามาโดยตลอด |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 | |||
เจ้าของผลงาน | : | กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน ๔๖ | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพอากาศ |
ความเป็นหน่วยต้นแบบ |
กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 46 เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการ ทั้งการกำหนดนโยบาย การบริหารงบประมาณและการเงิน รวมทั้งการพัฒนาบุคลากร ส่งผลให้หน่วยมีประสิทธิภาพ โดยมีจุดเด่นในด้านการสร้างความร่วมมือใน ชุมชน และมีการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยนำหลักการทรงงานในข้อระเบิดจากข้างใน และแนวคิด เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมและการพัฒนา เป็นแนวทางดำเนินการ |
ด้านนโยบายและการจัดหน่วย |
กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 46 ดำเนินงานภายใต้ กรอบแนวคิด ๓ แนวทาง คือ องค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรแห่งการมีส่วนร่วมและองค์กรแห่งการพัฒนา
1. องค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้ดำเนินการ โดยส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นให้กัข้าราชการ และทหารกองประจำการ เพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง และยกระดับการศึกษาของบุคลากรภายในหน่วย 2. องค์กรแห่งการมีส่วนร่วม กองพัน ได้มีการออกคำสั่งคณะกรรมการในการขับเคลื่อนโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของหน่วย รวมทั้งส่งเสริมให้เป็น กองพันฯ แห่งการมีส่วนร่วม โดยเน้นการสร้างความร่วมมือ และการมีส่วนร่วม ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน 3. องค์กรแห่งการพัฒนา ส่งเสริมให้เป็นกองพัน แห่งการพัฒนา โดยมุ่งที่จะพัฒนา ๓ แนวทาง คือ มุ่งพัฒนาคน มุ่งพัฒนางาน และ มุ่งพัฒนาพื้นที่ |
ด้านงบประมาณและการบริหารการเงิน |
มีการรายงานผลการดำเนินการ มีการบันทึกและจัดทำบัญชีการรับจ่ายงบประมาณเพื่อบริหารความเสี่ยงและควบคุมงบประมาณให้เกิดความคุ้มค่า มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ |
ด้านการพัฒนาบุคลากร |
จากนโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศและวิสัยทัศน์ของกองทัพอากาศ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากร ให้มีคุณภาพและการเป็นมุ่งเป็น “Digital Airforces” ไปสู่ “Network Centric Operation”การปฏิบัติงานโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางของกองทัพอากาศและในระยะยาวที่จะเป็น “One of the best Airforces in ASEAN” จึงทำให้กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 46 ต้องวางแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จัดทำแผนการพัฒนาบุคคล (IDP) ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การพัฒนา และสอดรับกับนโยบายของกองทัพอากาศ จึงนำไปสู่วิสัยทัศน์ |
ด้านผลสัมฤทธิ์ |
หน่วยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้การทำเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริรวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาดูงาน ของหน่วยงานราชการ กลุ่มเกษตรกร โรงเรียนในเขตจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งข้าราชการและทหารกองประจำการที่ปลดไปแล้ว ได้มีอาชีพเสริม |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 | |||
เจ้าของผลงาน | : | กองพันก่อสร้างและพัฒนาที่ 2 กรมก่อสร้างและพัฒนา ฐานทัพเรือสัตหีบ | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพเรือ |
ความเป็นหน่วยต้นแบบ |
กองพันก่อสร้างและพัฒนาที่ 2 กรมก่อสร้างและพัฒนา ฐานทัพเรือสัตหีบ เป็นหน่วยที่มีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติราชการ ทั้งด้านการบริหารงาน การพัฒนาบุคลากร และด้านนโยบาย เพื่อให้หน่วยและกำลังพลสามารถพึ่งตนเองได้ เน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อรองรับภารกิจของหน่วย เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ และการพึ่งพาตัวเอง โดยกำหนดวิสัยทัศน์และนโยบายของหน่วยคือ “เป็นหน่วยสนับสนุนเครื่องมือกลให้ตอบสนองภารกิจได้ทุกสถานการณ์ภายใต้การบริหารจัดการที่ดี” |
ด้านนโยบายและการจัดหน่วย |
มีการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในหน่วย โดยออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ได้แก่
- คณะกรรมการโครงการเศรษฐกิจพอเพียง - คณะกรรมการจัดการความรู้ของกองพัน มีการบริหารจัดการทรัพยากรในหน่วยงานอย่างประหยัดคุ้มค่า ทั้งการประหยัดน้ำ การประหยัดไฟฟ้า การขุดสระเก็บน้ำและปรับปรุงพื้นที่เป็นศูนย์เกษตร มีการนำยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้วมาดัดแปลงเป็นอุปกรณ์ดันเรือช่วยเหลือเรือที่ติดค้างหาด นอกจากนั้นหน่วยยังมีแนวความคิดในการสร้างห้องน้ำแบบถอดประกอบได้โดยใช้แผงโซลาเซลล์ เพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับห้องน้ำ ซึ่งหน่วยได้นำมาใช้ในภารกิจการช่วยเหลือและบรรเทาภัยพิบัติต่างๆได้เป็นอย่างดี หน่วยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท AIS ในการให้ทุนสนับสนุนการเลี้ยงไก่ไข่ นอกจากนั้นหน่วยยังมีโครงการช่วยเหลือประชาชน ด้วยการสร้างอาคารเรียน และการสร้างบ้านให้กับผู้ประสพอุทกภัยในพื้นที่ จ.ชุมพร และ จ.นครศรีธรรมราช ที่ผ่านมาอีกด้วย |
ด้านงบประมาณและการบริหารการเงิน |
มีการรายงานผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกเดือน รวมทั้งมีการชี้แจงให้กับกำลังพลที่เข้าร่วมโครงการได้รับทราบ |
ด้านการพัฒนาบุคลากร |
มีแผนการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ โดยจัดให้กำลังพลไปฝึกอบรมความรู้ในการใช้เครื่องมือกลแบบต่างๆ รวมทั้งให้กำลังพลมีส่วนร่วมในการพัฒนากองพันตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจของพอเพียง |
ด้านผลสัมฤทธิ์ |
หน่วยได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ทำให้กำลังพลมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ เห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ และใช้ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด สิ่งต่างๆเหล่านี้ก่อให้เกิดสังคมการทำงานแบบเกื้อกูล สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้กับหน่วยได้เป็นอย่างดี |
ประเภทที่ 2 ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหน่วยทหารหรือตำรวจ | |||
รางวัลชนะเลิศ | |||
เจ้าของผลงาน | : | หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๑๔ สำนักงานพัฒนาภาค ๑ | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา |
ประวัติความเป็นมา |
หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๑๔ สำนักงานพัฒนาภาค ๑ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จังหวัดตราด ได้แบ่งพื้นที่ จำนวน 14 ไร่ จัดทำพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ปี 2548 เพื่อเป็นตัวอย่างกิจกรรมที่นำพาไปสู่ความพอเพียงสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเองตลอดจนใช้ความรู้ และ คุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตซึ่งทำให้ผู้ที่ได้เข้ามาศึกษา ในศูนย์การศึกษาฯ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน จนสามารถทำให้ตนเองและครอบครัว มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในพื้นฐานแห่งความพอเพียง |
การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
การดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จัดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ พื้นที่การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่สนองงานพระราชดำริ แสดงองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาด้าน ดิน น้ำ ป่า หลักเกษตรทฤษฎีใหม่ พื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและพื้นที่การเรียนรู้ด้านการประมง |
ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 14 สำนักงานพัฒนาภาค 1 มีการแบ่งพื้นที่ในการจัดศูนย์การเรียนรู้ได้อย่างครบถ้วนเหมาะสม ไม่ใหญ่หรือไม่เล็กเกินไป ทำให้สะดวกแก่การเข้ามาศึกษาหาความรู้ โดยมีกิจกรรมที่ครบถ้วนทั้ง เกษตร ปศุสัตว์ ประมง รวมทั้งศาสตร์พระราชาด้าน ดิน น้ำ ป่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกด้วย |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 | |||
เจ้าของผลงาน | : | ศูนย์การเรียนรู้มณฑลทหารบกที่ 37 ค่ายเม็งรายมหาราช | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพบก |
ประวัติความเป็นมา |
ตั้งแต่ปี 2557 มณฑลทหารบกที่ 37 ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาพื้นที่ ภายในค่ายเม็งรายมหาราชให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเริ่มต้นจากแผนงานโครงการเกษตรปลอดภัย จากนั้นจึงได้ขยายแนวคิดไปสู่แผนงานด้านอื่นและจากการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนินติดตามการดำเนินงานการขยายผลการเลี้ยงแพะพระราชทานพันธ์แบล็คเบงกอล ที่มณฑลทหารบกที่ 37 ได้เข้าร่วมเป็นโครงการนำร่อง ทรงมีพระราชดำริว่า “อยากให้ค่ายเม็งรายมหาราชเป็นศูนย์การเรียนรู้ เป็นพื้นที่ศึกษาทดลองโครงการต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ทหารกองประจำการ อีกทั้งสามารถนำไปขยายผลสู่เครือข่ายชุมชนตามภูมิลำเนาของพลทหาร เมื่อปลดประจำการไปแล้ว” มณฑลทหารบกที่ 37 จึงได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภายใต้แนวคิด ”โครงการเดินตามรอยเท้าพ่อ” ทำดีให้คนดู |
การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
การดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มณฑลทหารบกที่ 37 แบ่งเป็น 18 แผนงาน ประกอบด้วย การจัดหาแหล่งน้ำต้นทุน โครงการปลูกหญ้าเนเปียร์ โครงการเลี้ยง ไก่ เป็ด ห่าน โครงการนาอินทรีย์ โครงการธนาคารปลา โครงการเกษตรปลอดภัย โครงการผลิตอาหารสัตว์ เป็นต้น |
ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
มณฑลทหารบกที่ 37 มีฐานการเรียนรู้ที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งภาคการเกษตร ปศุสัตว์ รวมถึงการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมของหน่วย และสามารถขยายผลสู่ชุมชนได้ |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 | |||
เจ้าของผลงาน | : | ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพเรือ |
ประวัติความเป็นมา |
ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ได้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ขึ้นในปี 2550 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ แก่กำลังพลของกองทัพเรือและเปิดโอกาสให้ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปเข้าศึกษาเรียนรู้ |
การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือได้ดำเนินการจัดโครงการที่เป็นองค์ความรู้หลัก ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ 9.9 ไร่ แบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน ได้แก่ สระน้ำ นาข้าว แปลงพืชผัก บ้านที่อยู่อาศัยและโรงเรียนสัตว์ โครงการหมู่บ้านธรณีศึกษาบ้านดินในพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ประกอบด้วยกิจกรรมการปลูกสร้างบ้านดิน การเลี้ยงไส้เดือนกำจัดขยะอินทรีย์ โครงการแปลงสาธิตเกษตรผสมผสาน โครงการวิถีควายไทย โครงการเกษตรพอเพียงเฉลิมพระเกียรติฯ และโครงการหอศิลป์เจ้าพ่อหลวงเฉลิมพระเกียรติ |
ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
สร้างองค์ความรู้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงานได้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง โดยแบ่งเป็นองค์ความรู้หลัก 3 เรื่อง ได้แก่ เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักการทรงงาน ที่ผสมผสานสอดคล้องต่อเนื่องอย่างลงตัว |
ประเภทที่ 3 ครอบครัวข้าราชการที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปดำเนินชีวิต |
|||
รางวัลชนะเลิศ | |||
เจ้าของผลงาน | : | เรือโทสุพจน์ ภู่วัตร | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพเรือ |
ความสุขที่เริ่มต้นจากพึ่งตนเอง |
เรือโทสุพจน์ ภู่วัตร มีแนวคิดที่ทำ โครงการ “ข้าวสร้างสุข” เริ่มต้นจากปี พ.ศ.2552 ได้ลงทุนซื้อเครื่องสีข้าวกล้องขนาดเล็ก โดยจดทะเบียนเป็น “ผลิตภัณฑ์ชุมชน” มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว สายพันธ์ข้าวกิ่งดอยจนติดตลาด และเป็นที่ต้องการของลูกค้าเนื่องจากมีรสชาติที่อร่อย ทานแล้วระบบขับถ่ายดีขึ้น จึงรวมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จำนวน 10 ครอบครัว จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาข้าวก่ำ(ข้าวลืมผัว) และได้รับรางวัลมากมาย โดยรางวัลที่ภาคภูมิใจ คือ รางวัลนวัตกรรมข้าวไทย ประเภทวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2556 จากมูลนิธิข้าวไทยในพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดโดยมูลนิธิข้าวไทยร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ องค์การมหาชน และรางวัลชนะเลิศ ด้านสังคม 7 Innovation Awards 2016 จัดโดย 11 องค์กรของประเทศไทย |
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ความพอประมาณ
“ข้าวสร้างสุข” มีรูปแบบการบริหารจัดการคู่ขนานระหว่างวิสาหกิจชุมชน และนิติบุคคล โดยวิสาหกิจชุมชนเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ใช้ปัจจัยคือองค์ความรู้ และปัจจัยด้านการผลิต โดยไม่มีปัจจัยด้านการเงิน ไม่ได้ระดมเงินทุนจากสมาชิก ในส่วนของนิติบุคคลบริหารจัดการด้านการบัญชีในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยใช้ระบบบัญชีเดียวที่ทางรัฐบาลส่งเสริมให้ SME ปฏิบัติ มีการจัดทำบัญชีโดยสำนักงานจัดการบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชี ในส่วนของค่าใช้จ่ายต่างๆ ในครัวเรือน มีค่าใช้จ่าย ไม่ค่อยมาก เนื่องจากข้าวไม่ต้องซื้อปลูกเอง พืชต่างๆ ส่วนใหญ่ปลูกเอง และไม่มีค่าใช้จ่าย ในเรื่องอบายมุขเนื่องจากในครอบครัวไม่มีการดื่มสุราและสูบบุหรี่ ความมีเหตุผล นำวัสดุที่เหลือใช้จากการทำนา เช่น ฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ย และกระดาษจากฟางข้าว โดยกระดาษฟางข้าวได้รับการอบรมความรู้เบื้องต้นด้านการทำกระดาษโดยใช้ฟางข้าวผสมปอสาและวัสดุอื่นๆ จากกองพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กรมการข้าว และ “ข้าวสร้างสุข” มาพัฒนาหลักสูตร กระบวนการผลิตต่างๆ ให้เป็นสูตรการผลิตกระดาษฟางข้าว เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรทั่วไป และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กระดาษฟางข้าว ภูมิคุ้มกัน ตั้งกลุ่มปลูกข้าวปลอดภัยโดยจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ชื่อ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาข้าวก่ำ (ข้าวลืมผัว) เพื่อยกระดับเกษตรกรในชุมชนที่มีรายได้น้อย ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำนาแบบเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และพลังงานทดแทน มาใช้ในกระบวนการผลิตการแปรรูปสินค้าจากข้าวโดยใช้วิธีการจ้างงานจากสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ในรูปแบบ “วิสาหกิจ SME” เพื่อให้มีรายได้หลักที่มั่นคง นอกเหนือจากการทำนา การทำงานในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนคู่ขนานกับ SME โดยเรียกการบริหารจัดการรูปแบบใหม่นี้ว่า “วิสาหกิจ SME” ผ่าน iRice Model ที่เป็นสัญลักษณ์ของข้าวสร้างสุข เพื่อเป็นต้นแบบให้กับเยาวชน เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ต้องการพัฒนาอาชีพด้านเกษตร ความรู้คู่คุณธรรม “ข้าวสร้างสุข” ใช้หลักกระบวนการคิดจากสิ่งที่มีในท้องถิ่นของทางภาคเหนือมาประยุกต์ใช้กับหลักวิทยาศาสตร์ จากข้าวแต๋นของคนเหนือมาสู่ข้าวกล้องกรอบ iRice |
ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
โครงการ “ข้าวสร้างสุข”เป็นการยกระดับเกษตรกร จากชาวนาสู่ผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน และมั่นคง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและขับเคลื่อนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและพลังงานทดแทน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่เรามีอยู่ในท้องถิ่นให้มีมูลค่าสูงขึ้น ทำน้อยแต่ได้มาก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระองค์ทรงเป็นต้นแบบนวัตกรรม นักประดิษฐ์คิดค้นระดับโลก ทรงคิดและสร้างสิ่งประดิษฐ์มากมายเพื่อช่วยเหลือด้านการเกษตรผ่านโครงการต่างๆ เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา ไบโอดีเซล การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง)โครงการแกล้งดิน เป็นต้น ทำให้ ”ข้าวสร้างสุข” มีต้นแบบในการพัฒนาเกษตรกรด้านข้าวแบบมีระบบ
จุดเด่น 1. ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิต และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ มาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ 2. รายได้เสริมมาจากการเป็นวิทยากรบรรยายนวัตกรรมทางการเกษตรด้านข้าว 3. ข้าวสร้างสุข เปลี่ยนจาก ข้าวเหนียวขัดขาวมาเป็นข้าวกล้องกรอบ โดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์มาช่วยในกระบวนการผลิตเพื่อให้สารอาหารที่มีประโยชน์ยังคงเหลือสำหรับผู้บริโภค และมีการปรับปรุงรสชาติให้เข้ากับสมัยนิยม |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 | |||
เจ้าของผลงาน | : | จ่าสิบเอกทรงพล ด้วงภู่ | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพบก |
ความสุขที่เริ่มต้นจากพึ่งตนเอง |
จ่าสิบเอกทรงพล ด้วงภู่ อายุ 35 ปี ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต สืบเนื่องจากพื้นฐานครอบครัวเดิมเป็นเกษตรกร จึงทำให้คุ้นเคยกับการเกษตรเป็นอย่างดี ประกอบกับสภาวะ เศรษฐกิจในปัจจุบัน ข้าวของมีราคาแพง ไม่ว่าจะสินค้าอุปโภคบริโภคคิดหาทางลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว ด้วยการทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วน ปลูกพืชผัก ผลไม้ เลี้ยงสัตว์ เอาไว้รับประทานเองในครอบครัว เหลือแจกจ่ายให้เพื่อบ้าน และจำหน่ายเป็นรายได้ครอบครัว
ความพอประมาณ ทำการเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่ 1 ไร่ พลิกฟื้นจากพื้นที่รกร้างมาทำการเกษตร โดยใช้เวลาว่างจากการทำงานประจำ ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้ประกอบอาหารรับประทานในชีวิตประจำวัน ผลผลิตที่เหลือก็แจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน และนำไปจำหน่าย ความมีเหตุผล ปลูกพืชผักสวนครัวสลับหมุนเวียนตลอดทั้งปี โดยทำด้วยตนเองและภรรยา มีการจำหน่าย พันธุ์ไม้ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ปลูกมะนาวพันธุ์แคลิฟอร์เนียเพื่อจำหน่ายกิ่งพันธุ์และปลูกมะนาวสายพันธุ์อื่นๆ วางจำหน่ายทั้งปี เพื่อเป็นรายได้ ภูมิคุ้มกัน ทำการถนอมอาหาร จากผลผลิตที่ได้ เช่น การทำหน่อไม้ดอง ไข่เค็ม สร้างเครือข่ายผู้ปลูกมะนาวพันธุ์แคลิฟอร์เนีย เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายเข้าสู่ตลาดส่งออกในวันข้างหน้า ความรู้คู่คุณธรรม จากการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินชีวิตประจำวัน จากพื้นฐานที่ชอบ ในการทำการเกษตร เริ่มเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ จากปราชญ์ชาวบ้านจนทำเป็นกิจวัตรประจำวันจนเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชนและบุคคลทั่วไป โดยยึดหลักการดำรงชีวิตด้วยความซื่อสัตย์และอดทน |
ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
มีความมั่นคงในชีวิต ครอบครัวอบอุ่น ได้รับความไว้วางใจให้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ ด้านเศรษฐกิจพอเพียงแก่หน่วยงานต่างๆ ขยายผลสู่เพื่อนบ้านและชุมชน ปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง รู้จักเก็บออมเงิน ใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ และยังช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม โดยช่วยกันปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมีทั้งหมด
จุดเด่น 1. มีการทำกิจกรรมเกษตรผสมผสานหลังบ้านพักเปรียบเสมือน ธนาคารอาหารชุมชน (Food Bank)โดยชุมชนสามารถ มาขอแบ่งปันไปประกอบอาหารแต่ละวัน 2. มีการบันทึกบัญชีครัวเรือน บัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครอบครัวทำอย่างสม่ำเสมอ 3. เป็นวิทยากรประจำ ศูนย์การเรียนรู้ของหน่วย |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 | |||
เจ้าของผลงาน | : | ดาบตำรวจหญิงกิติกา ศรีโบราณ | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน |
ความสุขที่เริ่มต้นจากพึ่งตนเอง |
จากการที่ได้เข้าร่วมโครงการคัดเลือกบุคคลที่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อสอบบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจปฏิบัติหน้าที่ ครู ตชด. สังกัดหน่วยตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งเป็นโครงการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหรือเรียกว่า “ครุทายาท” ข้าพเจ้าสอบได้รุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2542 เป็นระยะเวลา 17 ปี ที่ข้าพเจ้ามีความภูมิใจมากที่ได้ปฏิบัติงานในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และได้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ อีกทั้งยังได้กลับมาพัฒนาหมู่บ้านและโรงเรียนที่ข้าพเจ้าเคยศึกษา จึงทำให้การดำเนินชีวิตเรียบง่าย ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย รู้จักอดทนและอดออม สนุกกับการทำงาน รักและเอาใจใส่กับงานที่เราได้ลงมือทำ และได้ยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติมาตลอด
ความพอประมาณ หลักการพึ่งตนเอง การมีเงินทุนของตนเอง ใช้แรงงานตนเอง ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ตนเอง ทำบัญชี ครัวเรือนและใช้บัญชีประเมินปรับปรุงตนเอง วิเคราะห์ปัญหาและแก้ปัญหาตนเอง หลักความพอมีพอกิน มีการเรียนรู้ ฝึกอาชีพการเกษตรอย่างหลากหลาย ปลูกและเลี้ยงทุกอย่าง ที่กินได้ กินทุกอย่างที่ปลูกหรือเลี้ยงได้ เผื่อแผ่เกื้อกูลต่อเพื่อนบ้าน หลักพอมีพอใช้ มีการลดรายจ่ายด้วยการปลูก-เลี้ยงกินเอง (ประหยัดเงิน)ด้วยการปลูก – เลี้ยง สิ่งที่ขายได้ง่าย ไม่เล่นการพนัน ไม่ใช้จ่ายกับสิ่งที่ฟุ่มเฟือย และออมเงินอย่างต่อเนื่อง หลักความรู้จักพอประมาณ ทำสิ่งต่างๆ ให้เหมาะกับเงินทุน/แรงงาน หรือศักยภาพภาพ ของตัวเอง (อย่าทำเกินตัว) พอใจในสิ่งที่ตัวองมีอยู่ (สันโดษ) ความมีเหตุผล การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ ภูมิคุ้มกัน พิจารณาเรื่องของเหตุและผลในทุกเรื่องจนเป็นพื้นฐานของจิตใจ ปฏิเสธคำชักชวนไปในทางที่เสี่ยง ฝึกไม่ตามใจตนเอง ต้องออมเงิน ออมดิน(ปรับปรุง) ออมน้ำ(เก็บน้ำ) ออมมิตร(ผูกมิตร) ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดเลย ทำให้เป็นเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชน ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษาดูงาน และเป็นที่ยอบรับของเพื่อนบ้าน ส่วนราชการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคม ความรู้คู่คุณธรรม ความมีคุณธรรมไม่โลภ ไม่เอาเปรียบ ไม่ลักขโมย ปลูกเมตตาจิตให้กับตนเอง รับผลประโยชน์ตามสิทธิของตนเอง ความน้อมถ่อมตน สำรวมตนอยู่ในกรอบของศีล 5 หรือคำสอนในศาสนา |
ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
จุดเด่น 1. ปลูกผลไม้ไว้เพื่อรับประทาน ที่เหลือจะเป็นของฝาก และจำหน่ายให้กับชุมชนในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด 2. การปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้าในสวนยางพารา ทำให้มีรายได้เสริมจากการกรีดยางพารา และได้เก็บผลกาแฟจำหน่ายว 3. การปลูกถั่วดาวอินคาและถั่วมะแฮะ ปลูกไว้เพื่อรับประทานและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยเป็นยารักษาโรคได้ คือเมล็ดสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ รากและลำต้นสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสีย |
ประเภทที่ 4 หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ | |||
รางวัลชนะเลิศ | |||
เจ้าของผลงาน | : | บ้านหนองสะแกกวน | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพบก |
ความโดดเด่น |
บ้านหนองสะแกกวน ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เช่น การปลูกพืชผักหมุนเวียน การจักสาน งานหัตถกรรม การกำจัดขยะ ฯลฯ ทำให้หมู่บ้านหนองสะแกกวนเป็นหมู่บ้านต้นแบบ ด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร Agro tourism สร้างความภาคภูมิใจให้กับประชาชนในชุมชนและยังเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและก่อให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นความต้องการของคนในชุมชนมากที่สุด เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน |
ประวัติหมู่บ้านโดยสังเขป |
บ้านหนองสะแกกวน จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอโนนดินแดง 3.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 1,980 ไร่ ประกอบด้วย 138 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 613 คน ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม (ทำนา ทำไร่ ปลูกผัก) ชุมชนมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เนื่องจากการหลั่งไหลเข้ามา จับจองที่ทำกินของคนหลากหลายเชื้อชาติ หลายภาษาเข้ามาตั้งรกรากที่อยู่อาศัยหลังยุคผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลง จากพื้นที่รกร้างว่างเปล่ากลับกลายเป็นพื้นที่อยู่อาศัย จากบ้าน 3-4 หลังคาเรือน พัฒนากลายมาเป็นหมู่บ้านขนาดย่อม กลายเป็นชุมชนดังที่เห็นในปัจจุบัน บ้านเรือนส่วนใหญ่ได้รับ การสืบทอดมาเป็นสมบัติทางภูมิปัญญา มีการออกแบบอย่างละเอียดรอบคอบ เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศเขตร้อนอย่างเมืองไทย เช่น การสร้างชายคาบ้านยื่นยาวและหลุบต่ำ เพื่อป้องกันแสงแดดกระทบผนังบ้าน การสร้างหน้าต่างที่ต่ำ หรือการสร้างระเบียง ทำให้ลมถ่ายเทได้สะดวก สอดคล้องกับ กระแสอนุรักษ์พลังงานในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี |
การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน |
ความพอประมาณ ชุมชนบ้านหนองสะแกกวนได้ดำเนินตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้มีการผลิต เพื่อการบริโภคในหมู่บ้าน หากเหลือจึงจำหน่าย มีการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ มีการรวมกลุ่มทำงานจักสาน งานหัตถกรรม ในช่วงที่ว่างเว้นจากการทำนาหรือทำสวน สร้างรายได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังมี การนำวัสดุ ที่มีในพื้นที่ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เช่น การนำยางรถยนต์มาเป็นกระถางต้นไม้ การนำท่อนไม้มาสร้างม้านั่ง ความมีเหตุผล การส่งเสริมให้มีส่วนร่วม ชุมชนบ้านหนองสะแกกวนร่วมกับ กองทัพภาคที่ 2 (ศูนย์การพัฒนา โนนดินแดง) และกรมพัฒนาที่ดินจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ในการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ไว้ใช้ในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ รักษาสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการทำคอกปุ๋ยหมักจากเศษไม้ ใบไม้ วัชพืชต่างๆ ภูมิคุ้มกัน ชุมชนบ้านหนองสะแกกวน มีการดูแลกัน หมู่บ้านมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการ ทำกิจกรรมต่างๆ อาทิ การทำน้ำหมักจากเศษอาหารต่างๆในครัวเรือน มาใช้ในการปรับปรุงสภาพดิน บำรุงดิน ดับกลิ่นเหม็น ใช้ล้างห้องน้ำ และรดน้ำต้นไม้โดยพืชสามารถดูดซึม สารอาหารจากน้ำหมักชีวภาพไปใช้ได้ทันที ซึ่งเป็นการลดใช้สารเคมี ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ เป็นการช่วยลดรายจ่าย ในครัวเรือน และมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นเป็นการประหยัดค่ารักษาพยาบาลได้อีกทางหนึ่ง ความรู้คู่คุณธรรม ชุมชนบ้านหนองสะแกกวน ช่วยกันดูแลความสะอาดด้วยการกำจัดขยะมูลฝอย และคัดแยกขยะไว้หน้าบ้านของตนเองในทุกๆวัน ทำให้กลายเป็นชุมชนที่มีขยะเป็นศูนย์ มีการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และมีรายได้เสริมจากการทำงานหัตถกรรม จักสาน ฯลฯ จากความร่วมมือของคนภายในหมู่บ้าน ทำให้ประชาชนทั่วไป นักศึกษา เข้ามาศึกษาดูงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน |
การขยายผลการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
จากการดำเนินการด้านการกำจัดขยะเป็นศูนย์ ทำน้ำหมักจากเศษอาหารต่างๆ ในครัวเรือน ทำคอกปุ๋ยหมักจากเศษไม้ ใบไม้ วัชพืชต่างๆ นั้น นับได้ว่าเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้สิ่งของวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 | |||
เจ้าของผลงาน | : | บ้านท่าโพธิ์ | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพอากาศ |
ความโดดเด่น |
บ้านท่าโพธิ์ เป็นหมู่บ้านที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ คนในหมู่บ้านมีความรักความสามัคคี และมีส่วนร่วมในการประกอบกิจกรรมของหมู่บ้าน มีการร่วมกลุ่มจัดทำโรงสีข้าวชุมชน กองทุนปุ๋ย สนับสนุนให้สมาชิกเลี้ยงไก่ เป็ด เห็ดนางฟ้า เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นภายใต้โครงการ “ตื่นเช้ามาเราได้เงิน” |
ประวัติหมู่บ้านโดยสังเขป |
บ้านท่าโพธิ์เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ 300 ปีมาแล้ว เดิมชื่อว่าบ้านพญาช้างข้าม เพราะ ในสมัยก่อนมีเจ้าพญาขี่ช้างมาข้ามแม่น้ำที่บริเวณท่าน้ำของหมู่บ้านนี้ และบริเวณท่าน้ำแห่งนี้ยังมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ 1 ต้น เดิมหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่ 1 ตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2508 ท่านเจ้าคุณสุวรรณ วิสุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดจอมทอง/เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก และนายยอด สิงห์โต ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น ได้เห็นถึงความลำบากของการติดสื่อสาร และการสัญจร ไป-มาระหว่างหมู่บ้าน จึงได้ดำเนินการขอแยกหมู่บ้านจาก หมู่ที่ 1 ตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม มาเป็น หมู่ที่ 8 ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และได้เปลี่ยนจากบ้านพญาช้างข้ามมาเป็นบ้านท่าโพธิ์จนปัจจุบัน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 175 ครัวเรือน ประชากร 584 คน มีพื้นที่ทั้งหมด 2,152 ไร่ |
การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน |
ความพอประมาณ ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านมีอาชีพเสริมอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปลูกผัก ปลูกดอกดาวเรือง เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน เมื่อเหลือจึงจัดจำหน่าย มีการรวมกลุ่มทำงานจักสาน เพื่อเป็นการ เพิ่มรายได้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย และมีการวางแผนการใช้จ่ายและจัดสรรเงินอย่างเหมาะสม ความมีเหตุผล บ้านท่าโพธิ์มีการอบรมให้ความรู้ และส่งเสริมให้สมาชิกของหมู่บ้านมีส่วนร่วม เช่น การทำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ การใช้พลังงานทดแทน การแก้ไขปัญหายาเสพติด และการส่งเสริมให้สมาชิกปฏิบัติตาม กฎ กติกา ระเบียบ ข้อบังคับของหมู่บ้าน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ และปรับใช้ ให้สอดคล้องกับบริบทชุมชนของตนเอง โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ ภูมิคุ้มกัน มีการสร้างวินัยในการใช้เงินและการออมเงิน มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างให้คนในหมู่บ้าน/ชุมชน มีการดูแลสุขภาพ ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ลด ละ เลิกอบายมุข กำจัดลูกน้ำยุงลาย และมีการเชื่อมโยงเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหมู่บ้านอยู่เสมอ ความรู้คู่คุณธรรม มีการส่งเสริมและพัฒนาวัด แหล่งเรียนรู้ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม เช่น การร่วมกัน ทำความสะอาดวัด โรงเรียน ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การขุดลอกคูคลอง กำจัดผักตบชวา โครงการจิตอาสาต่างๆ นอกจากนี้ยังเสริมสร้างให้ครอบครัวอบอุ่น เน้นให้ความสำคัญกับเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสด้วย |
การขยายผลการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อ บ้านท่าโพธิ์ ถูกกล่าวถึงอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังมีการเผยแพร่ ทางสื่อต่างๆ เช่น สื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ มีสื่อมวลชนมาทำข่าวประชาสัมพันธ์ และได้รับเชิญ ให้ร่วมจัดนิทรรศการเผยแพร่การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่หมู่บ้านอื่นๆ |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 | |||
เจ้าของผลงาน | : | บ้านซับตารี | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพเรือ |
ความโดดเด่น |
บ้านซับตารีมีกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น การออมเพื่อการผลิต เพื่อนำเงินออมไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น น้ำดื่มชุมชน การปลูกผักปลอดสารพิษ ฯลฯ เป็นการสร้างการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน สร้างความสามัคคีของคนในชุมชน และยังมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี บุญบั้งไฟ การจัดกิจกรรมวันรำลึกวีรชน 19 ธันวาคม ของทุกปี ที่สืบทอดกันมากว่า 30 ปี |
ประวัติหมู่บ้านโดยสังเขป |
หมู่บ้านซับตารี หมู่ 2 ตำบลทุ่งขนาน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เป็นหมู่บ้านชายแดนติดกับกัมพูชา ราษฎรในหมู่บ้านเดิมเป็นคนที่ย้ายถิ่นฐานมาจาก อำเภอเดชอุดมและ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 ซึ่งในห้วงเวลานั้นยังเป็นพื้นที่ๆ มีภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยเกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างชุดรักษาหมู่บ้านและตำรวจตระเวนชายแดนกับผู้ก่อการร้าย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2521 ทำให้มีเจ้าหน้าที่ชุดรักษาหมู่บ้านและตำรวจตระเวนชายแดนเสียชีวิต ราษฎรถูกจับตัวไป รวมทั้งบ้านเรือนราษฎรถูกเผาเสียหาย ปัจจุบันบ้านซับตารี มี 375 ครัวเรือน มีประชากร 1,176 คน |
การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน |
ความพอประมาณ ดำเนินการ โดยการพึ่งตนเองให้มากที่สุดในการทำเกษตร เช่น ขุดสระเก็บน้ำไว้ใช้เอง เจาะบ่อบาดาล และช่วยกันพัฒนาแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์, ใช้หลักการความพอประมาณ คือการดำเนินโครงการต่างๆ เช่น การก่อสร้างโรงน้ำดื่มให้เหมาะสมตามความจำเป็น ความมีเหตุผล มีกิจกรรมจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินในชุมชน กิจกรรมผลิตน้ำดื่มชุมชนบ้านซับตารีกองทุนแม่ของแผ่นดิน กลุ่มร้านค้าชุมชน กองทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิต และกลุ่มโรงสีข้าวชุมชน ภูมิคุ้มกัน มีกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินในชุมชน กองทุนแม่ของแผ่นดิน กลุ่มร้านค้าชุมชน และกองทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิต ความรู้คู่คุณธรรม ชุมชนมีความรักสามัคคี ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ การร่วมมือกันภายในหมู่บ้าน ก่อให้เกิด การพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม มีการศึกษาข้อมูลโครงการหลวง เพื่อนำมาปรับปรุงในชุมชน มีการเอื้อเฟื้อ ต่อกัน มีการแบ่งปันภายในชุมชน |
การขยายผลการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
การดำเนินงานของชุมชนสามารถต่อยอดใช้เป็นสถานที่สำหรับศึกษาดูงาน ด้านหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของพื้นที่ จังหวัดจันทบุรี ตลอดจนส่วนราชการจากประเทศกัมพูชา ได้มาศึกษาเรียนรู้ ด้านต่างๆ เช่น การจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ กลุ่มโรงสีข้าว ร้านค้าชุมชน เป็นต้น |
ประเภทที่ 5 ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง (ผลงานของชุมชนบริเวณบ้านพักในหน่วยทหารหรือตำรวจ) | |||
รางวัลชนะเลิศ | |||
เจ้าของผลงาน | : | ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑๖ | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพบก |
ประวัติความเป็นมา |
ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑๖ อยู่ภายในค่ายบดินทรเดชา สมาชิกส่วนใหญ่เป็นกำลังพลที่ไม่ได้ออกปฏิบัติงานนอกหน่วยและครอบครัว รวมกลุ่มทำกิจกรรม เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และมีรายได้เสริม ส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง รวมทั้งความเป็นอยู่ดีขึ้น เริ่มต้นการรวมกิจกรรมต่างๆ มาจากการปฏิบัติธรรมในวันพระและ วันสำคัญทางศาสนา ณ ลานธรรม ของหน่วยเพื่อสร้างความสามัคคี ทำให้มีการสร้างกิจกรรมต่างๆ ตามโครงการส่งเสริมอาชีพ/รายได้ สวัสดิการกำลังพลชั้นผู้น้อยของหน่วย จนประสบความสำเร็จได้ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม ชุมชนแห่งนี้ได้น้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของหน่วยในการคิดทำเป็นตัวอย่างเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมีเป็นอันตรายต่อมนุษย์เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ส่งเสริมกำลังพล ครอบครัว รวมทั้งชุมชนรอบๆค่าย ได้เข้ามาศึกษาดูงานเพื่อ “เรียนรู้ เรียนทำ พัฒนาขยายผล ยั่งยืน” |
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ความพอประมาณ
การบริหารจัดการพื้นที่ 513 ไร่ เพื่อดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน มีลักษณะเกื้อกูลกันในการทำการเกษตรอินทรีย์ การดำเนินชีวิตของสมาชิกในกลุ่มกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น กลุ่มไก่พันธุ์ไข่ กลุ่มปลาร้าบอง กลุ่มทานตะวันงอก กลุ่มน้ำยาล้างจาน กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มทำแหนม กลุ่มเห็ดนางฟ้า กลุ่มทำอาหาร กลุ่มลาบเป็ด กลุ่มแคดดี้ และกลุ่มประกันฯ ความมีเหตุผล คณะศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้ฯ และวิทยากรให้ความรู้กำลังพลของหน่วย รวมทั้งโครงการ ที่สำคัญในการทำการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งต้องเป็นตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมต่อไป ล้วนเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานตามแผนงานชุมชนของหน่วย ได้แก่ โครงการปลูกผักออแกนิกส์ โครงการแปลงสาธิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ โครงการปลูกหม่อน สนับสนุนโดยโครงการพระราชดำริ บ้านน้อมเกล้า โครงการเพาะเห็ดนางฟ้า โครงการทำปุ๋ยไส้เดือนดิน โครงการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ โครงการเกษตรของกองร้อย โครงการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ โครงการพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ในพื้นที่บ้านพัก โครงการปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ทหารกองประจำการ ภูมิคุ้มกัน ชุมชนมีเครือข่ายร่วมมือช่วยเหลือแบ่งปันกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แผ่นพับองค์ความรู้แนะนำความรู้ในกลุ่มกิจกรรม สมาชิกชุมชนสามารถนำไปปรับใช้สร้างงานสร้างอาชีพและก่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน เสริมสร้างให้ครอบครัวอบอุ่น กลุ่มกิจกรรมสามัคคีผลผลิตเกื้อกูลกัน สมาชิกชุมชนมีน้ำใจต่อกัน ความรู้คู่คุณธรรม ชุมชนมีการเพิ่มพูนความรู้ โดยการศึกษาดูงาน และจัดวิทยากรมาอบรมความรู้เฉพาะด้าน รวมทั้งมีการร่วมกันปฏิบัติธรรมเป็นประจำในวันพระและยึดหลักศีลธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต จุดเด่น 1. โครงการขุดบ่อธนาคารน้ำใต้ดิน ทำให้มีน้ำใช้ในการทำเกษตรได้ตลอดทั้งปี ซึ่งน้ำจากบ่อธนาคารน้ำใต้ดิน หน่วยได้บริการน้ำดื่มให้ชาวบ้านโดยไม่คิดมูลค่า 2. การร่วมแรง ร่วมใจ ของสมาชิกชุมชนใช้การเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมต่างๆ เริ่มต้นจากการปฏิบัติธรรม ณ ลานธรรม ของหน่วย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญให้เกิดความสามัคคีในชุมชน 3. หน่วยได้จัดทำข่าวสาร ข้อมูล และความรู้เผยแพร่ทางโซเชียลอย่างต่อเนื่อง |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 | |||
เจ้าของผลงาน | : | ชุมชนทหารพัฒนา เลขที่ 16 หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 16 สำนักงานพัฒนาภาค 1 | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา |
ประวัติความเป็นมา |
ชุมชนทหารพัฒนา เลขที่ 16 อยู่ภายในหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 16 สำนักงานพัฒนาภาค 1 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา สมาชิกเป็นกำลังพลและครอบครัวพักอาศัยอยู่ที่บ้านสวัสดิการ เริ่มต้นจากแนวคิดการพัฒนากำลังพลและหน่วยให้มีความพร้อมก่อนที่จะไปช่วยเหลือประชาชนให้อยู่ดีกินดี มีความมั่นคงในอาชีพ จึงได้น้อมนำแนวทางพระราชดำริหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ในการปฏิบัติงานได้จัดทำ “โครงการเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง” เพื่อพัฒนาไปสู่ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง การทำกิจกรรม เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ มีสภาพแวดล้อมที่ดีและสวยงาม สมาชิกได้เรียนรู้ในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มและสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับผู้ที่เข้าศึกษา ดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้ รวมทั้งประชาชนที่หน่วยได้เข้าไปส่งเสริมอาชีพในพื้นที่ปฏิบัติงานได้อย่าง “ผู้รู้จริง” |
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ความพอประมาณ
การจัดตั้งกลุ่มกิจกรรม การผลิตเพื่อการบริโภคอยู่ในระดับพอประมาณไม่มากเกิน ไม่น้อยเกินไป อาทิเช่น กลุ่มปลูกพืชผัก จะปลูกพืชผักตามความต้องการของโรงประกอบเลี้ยง และความต้องการของกำลังพล และร้านอาหารภายในชุมชนใกล้เคียงให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ความมีเหตุผล การผลิตในแต่ละกลุ่มกิจกรรม มีความเชื่อมโยงกันโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ภายในหน่วย ให้เกิดประโยชน์มีความสอดคล้องและเกื้อกูลกัน คำนึงถึงศักยภาพ ขีดความสามารถของแต่ละกลุ่มกิจกรรม อาทิเช่น กลุ่มผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ ดำเนินการปลูกข้าวโพดเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหาร ภูมิคุ้มกัน การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มปลูกกล้วย นอกจากจะขายผลผลิตกล้วยที่สุกแล้ว ส่วนที่ยังไม่สุก ก็นำมาแปรรูป จำหน่ายแบ่งเป็นรายได้ ปันผลกำไร และเก็บไว้เป็นทุนดำเนินงานต่อ รวมทั้งนำไปจัดตั้งกองทุนสาธารณประโยชน์ และให้สมาชิกออมเงิน เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน โดยมีการทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ของชุมชน ความรู้คู่คุณธรรม ชุมชนได้จัดให้มีการบรรยายเพิ่มพูนความรู้ โดยเชิญวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้ จัดกิจกรรมการศึกษาดูงาน การผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำที่บ้านเกษตรกรตัวอย่างที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน สมาชิกชุมชนร่วมทำบุญตักบาตรทุกวันพฤหัสบดี และฟังธรรมเป็นประจำทุกเดือนนอกจากนั้น ยังมีกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่หน่วยได้ทำการส่งเสริม และกลุ่มอื่นๆได้เข้ามาศึกษาดูงานในศูนย์การเรียนรู้ เพื่อให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจและสามารถน้อมนำแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน จุดเด่น 1. การเปิดพื้นที่อาคารอเนกประสงค์ของหน่วย เพื่อให้เป็นตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยได้มีกลุ่มต่างๆ ของชุมชนอื่นที่มีผลผลิตมาร่วมจำหน่ายและเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใช้บริการได้ 2. การบริหารจัดการในกลุ่มกิจกรรมจะประกอบด้วย สมาชิก 3–5 คน เท่านั้น เพื่อให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอไม่เอาเปรียบกัน |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 | |||
เจ้าของผลงาน | : | ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ค่ายตากสิน | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพเรือ |
ประวัติความเป็นมา |
ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ค่ายตากสิน อยู่ภายในหน่วยกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นกำลังพลที่กลับจากการปฏิบัติราชการ 3 จังหวัดภาคใต้ และครอบครัวที่พักอาศัยอยู่ในบ้านพักสวัสดิการ เริ่มดำเนินการเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2559 พัฒนาพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาจัดทำโครงการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ค่ายตากสิน โดยได้บูรณาการกับเกษตรจังหวัดจันทบุรี เพื่อพัฒนารูปแบบให้มีความเหมาะสม หน่วยได้จัดสรรพื้นที่ให้สมาชิกชุมชน เข้าไปดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ส่งเสริมให้ใช้พื้นที่ว่างเปล่าบริเวณบ้านพัก รั้วรอบบ้านปลูกพืชสมุนไพร ปลูกพืชผักสวนครัวและพื้นล้มลุกต่างๆ เพื่อไว้บริโภคซึ่งเป็นการลดรายจ่าย รวมทั้งแบ่งปันกันกับเพื่อนบ้านใกล้เคียงกันเป็นการสร้างความรักความสามัคคีการดำเนินกิจกรรมของชุมชนและกองทุนหมู่บ้านค่ายตากสิน ยึดหลักประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน |
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ความพอประมาณ
กิจกรรมการปลูกผักปลอดภัยของชุมชนใช้วิธีปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง คำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก จำหน่ายภายในชุมชนในราคาถูก เมื่อผลผลิตมีเหลือจากการบริโภคนำไปจำหน่าย ผลการดำเนินการในห้วงระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จเป็นไปตามความมุ่งหมายในระดับหนึ่ง ซึ่งกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการ อาทิเช่น การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชผักสวนครัวและไม้ดอกไม้ประดับ การจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ของชุมชน ความมีเหตุผล การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ ด้วยการปลูกหญ้าแฝก การทำปุ๋ยหมักจากเศษวัชพืชและการทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง ภูมิคุ้มกัน มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน โดยได้รับสนับสนุนทุนหมุนเวียนจากรัฐบาล จำนวน 1 ล้านบาท ซึ่งกองทุนสามารถบริหารงานจนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น ๓ ล้านบาท และด้านการตลาดมีการทำสัญญาซื้อขายผลผลิตทางการเกษตรกับโรงพยาบาลจันทบุรี ทำให้มีความมั่นคงด้านราคา ความรู้คู่คุณธรรม ชุมชนมีการศึกษาหาความรู้ในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงาน เกษตรจังหวัดจันทบุรี ทำให้กิจกรรมต่างๆ ประสบความสำเร็จร่วมกับการทำงานที่โปร่งใส ซื่อสัตย์ และขยันหมั่นเพียร จุดเด่น 1. กิจกรรมการปลูกดาวเรือง ผลผลิตที่ได้มีตลาดรองรับแน่นอน 2. มีการทำสัญญาซื้อ-ขาย พืชผักชนิดต่างๆ ที่ปลูกไว้กับโรงพยาบาลจันทบุรี 3. การบริหารงานของคณะกรรมการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทำให้มีเงินกองทุนเพิ่มขึ้นจาก 1 ล้านบาท เป็น 3 ล้านบาท |
ประเภทที่ 6 ประชาชนทั่วไป (ทุกสาขาอาชีพ) ที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยทหารหรือตำรวจ | |||
รางวัลชนะเลิศ | |||
เจ้าของผลงาน | : | นายจรูญ นวลพลอย | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน |
ความสุขเริ่มต้นจากพึ่งตนเอง |
นายจรูญ นวลพลอย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อดีตทำเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกและเก็บเกี่ยว ตามอายุพืชแล้วหมุนเวียนไปเรื่อยๆในพื้นที่ 10 ไร่ โดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ทำให้รายได้ไม่ต่อเนื่อง จำเป็นต้องออกไปรับจ้าง เพื่อหาเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว เริ่มสนใจทำการเกษตรแบบผสมผสาน เมื่อปี 2541 ได้เข้าไปศึกษาดูงานที่บ้านนายสว่าง พันธ์ช้วง เกษตรกรตัวอย่างของศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านการเลี้ยงโคขุนและเกษตรแบบผสมผสาน ต่อมาได้สมัครเป็นเกษตรกร และเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ ของศูนย์ศึกษาฯ ซึ่งผลจากการทำเกษตรแบบผสมผสานทำให้นายจรูญ นวลพลอย สามารถซื้อที่ดินเพิ่มได้ ๔๐ ไร่ และเป็นเกษตรกรตัวอย่างของศูนย์ศึกษาฯ ด้านการเกษตรผสมผสาน อีกทั้งเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่คณะดูงานของศูนย์ศึกษาฯด้วย ต่อมาได้รับเลือกเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเหนือ คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำเพื่อนบ้านในตำบลที่ตนอาศัยอยู่ได้ปรับเปลี่ยนชีวิตมาดำเนินตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นต้นแบบที่ยึดถือในความอดทน ปัจจุบันมีรายได้จากการทำเกษตรแบบผสมผสาน หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือไม่ต่ำกว่า 150,000.- บาทต่อปี |
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ความพอประมาณ
การทำการเกษตรแบบผสมผสานทำให้มีรายได้ทุกวัน พืชผักส่วนใหญ่ที่ปลูกสามารถเก็บขายได้ ตลอดทั้งปี พื้นที่ตรงไหนว่างปลูกแซมด้วยไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ในพื้นที่ 50 ไร่ ได้ปลูกพืชไร่หลายชนิดหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปตามฤดูกาล เพื่อไม่ให้เกิดการใช้พื้นที่ซ้ำซากเป็นเวลานาน ความมีเหตุผล การนำทรัพยากรที่เหลือใช้มาสร้างความคุ้มค่า อาทิเช่น การนำใบอ้อยที่ตัดมาคลุมแปลงผัก แทนหญ้าคา และในด้านการวางแผนการดำเนินชีวิตและความประพฤติที่ดีมีคุณธรรม ครอบครัวมีส่วนร่วม ในการร่วมกันคิดให้คำปรึกษาเวลาขัดแย้งใช้เหตุผลมาแก้ปัญหา อาทิเช่น เวลาคิดจะลงทุนทำอะไรจะไปศึกษาเรียนรู้จากศูนย์ศึกษาฯ แล้วมาพูดคุยปรึกษากับคนในครอบครัว เวลาที่มีความขัดแย้งกันจะฟังเหตุผล มากกว่าใช้อารมณ์ ภูมิคุ้มกัน การปรับวิธีการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรผสมผสาน ซึ่งมีกิจกรรมที่มีความเหมาะสม กับภูมิประเทศ และมีความเกื้อกูลกัน ทำให้มีผลผลิตไว้กินและขายเป็นรายได้อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้ครอบครัว ความรู้คู่คุณธรรม นายจรูญ นวลพลอย เป็นผู้ที่ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ และเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นด้วยใจเมตตา และในการดำชีวิตยึดหลักการออม ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข |
ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ ทำให้ครอบครัวมีความมั่นคงทางด้านอาหารและรายได้ รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเป็นตัวอย่างให้เกษตรที่สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้และความสำเร็จอันเป็นที่ภาคภูมิใจคือ ได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรตัวอย่างและเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้สามารถช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่ผู้ที่สนใจได้กว้างขวาง
จุดเด่น 1. เริ่มต้นการทำเกษตรแบบผสมผสาน เกิดจากการระเบิดจากข้างในรวมทั้งศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ จากศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก่อนลงมือทำ 2. การบริหารจัดการพื้นที่การเกษตร ๕๐ ไร่ ได้อย่างเหมาะสม 3. กิจกรรมที่ทำไม่ใช้แรงงานจากภายนอก ใช้เฉพาะสมาชิกในครอบครัว |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 | |||
เจ้าของผลงาน | : | นางนงค์นุช ยอดนางรอง | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา |
ความสุขเริ่มต้นจากพึ่งตนเอง |
นางนงค์นุช ยอดนางรอง ประกอบอาชีพทำนา ในพื้นที่ 15 ไร่ มีความยากจน จากภาวะราคาข้าว ที่ไม่แน่นอน การถูกกดราคา จากการนำข้าวเปลือกไปขายที่โรงสีในตัวเมือง การลงทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับการปลูกข้าว จำเป็นต้องทำสินเชื่อปุ๋ยจากพ่อค้าขายปุ๋ยในพื้นที่ก่อน เมื่อผลผลิตออกจึงชดใช้หนี้คืนพ่อค้าปุ๋ยเป็นวงจรชีวิตหนี้สินนอกระบบสะสม 200,000 บาท เมื่อปี 2554 หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 52 สำนักงานภาค 5 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาได้คัดเลือกเป็นเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเกษตรผสมผสาน และได้เข้าศึกษาดูงานในศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 52 ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มุ่งมั่นนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติเพื่อทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น |
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ความพอประมาณ
ภายหลังจากได้น้อมนำคำสอนของพ่อมาใช้ในการดำเนินชีวิต ทำให้เป็นต้นแบบในการสร้างงาน ในชุมชน ไม่ต้องเดินทางไปทำงานหารายได้ในเมืองใหญ่ ทำกิจกรรมภายในครอบครัวและมีเวลาอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้ห่างไกลจากอบายมุข โดยเฉพาะยาเสพติดและการพนัน หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 52 ได้สนับสนุนกิจกรรมด้านการเกษตร อาทิเช่น ขุดสระเก็บน้ำในไร่นา พันธุ์ปลา เมล็ดพืชผักสวนครัว มอบสุกรเพื่อเลี้ยงในรูปแบบหมูหลุม เป็นการเพิ่มรายได้ และนำปุ๋ยที่ได้จากคอกหมูมาทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนาเป็นการลดรายจ่ายการซื้อของใช้ในครัวเรือน จะมีคำถามเริ่มต้นว่าจำเป็นหรือไม่ หากจำเป็นจะซื้อมาใช้ในครัวเรือนไม่ใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น ทำอาชีพเสริม รับซื้อของเก่าทำให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น ทุกสิ้นเดือนได้ทำบัญชีครัวเรือนที่จดบันทึกมาวิเคราะห์ความจำเป็นช่วยในการวางแผนการใช้จ่ายตามลำดับความเร่งด่วน ความมีเหตุผล มีการนำทรัพยากรที่เหลือจากการประกอบอาชีพมาใช้อย่างคุ้มค่า โดยนำเศษผักมาผสมกับรำ จากโรงสีชุมชน ทำให้ลดต้นทุนในการเลี้ยงหมูหลุม การคัดแยกขวดแก้ว ขวดพลาสติก ลังกระดาษ วัสดุที่เป็นบรรจุภัณฑ์หลังจากใช้ในครัวเรือนแล้วรวบรวม นำไปขายรวมทั้งรับซื้อของเก่าจากคนในชุมชน นำไปขายเพื่อเป็นรายได้เสริม และทำให้ปริมาณขยะในชุมชนลดน้อยลง มีการใช้เหตุผลในการตัดสินใจ อย่างรอบคอบในทุกๆกิจกรรมก่อนที่จะดำเนินการ โดยได้ศึกษาข้อมูลจากหลายๆ แหล่งที่มา และปราชญ์ชาวบ้านจนได้ข้อมูลตรงกัน จึงได้นำมาทดลองปฏิบัติ โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ จนประสบความสำเร็จ สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการจดบันทึกการทดลอง เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ และเพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนอื่นที่สนใจเรียนรู้ ภูมิคุ้มกัน มีการรวมกลุ่มสมาชิกหมูหลุม และกลุ่มโรงสีข้าวชุมชนของชาวบ้านปากช่อง หมู่ที่ ๗ ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นได้ออกกำลังกายที่ต่อเนื่องส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีการปรึกษาหารือกัน ไม่มีการทะเลาะภายในครอบครัว ทำให้มีสุขภาพจิตดี เกิดความอบอุ่นในครอบครัวจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ความรู้คู่คุณธรรม มีส่วนร่วมในการประชุมเวทีประชาคมในการพัฒนาชุมชน เมื่อได้รับการประสานร้องขอ ทำกิจกรรมต่างๆ จะศึกษาใฝ่รู้จนศึกษาเข้าใจอย่างลึกซึ้ง แล้วนำไปปฏิบัติจนกลายเป็นต้นแบบ ของคนในชุมชน นำหลักธรรมมาใช้ในการดำรงชีวิต ยึดมั่นขนบธรรมเนียมสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ในการประกอบอาชีพ อาทิเช่น การทำไม้กวาดและสานไซ เพื่อขายเป็นรายได้ เมื่อมีเงินเหลือจากการใช้จ่ายในครัวเรือนแล้วจะแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งไว้ เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การจัดกองกฐิน การทำโรงทาน เลี้ยงนักเรียนและเพื่อนบ้าน รวมทั้งทุ่มเทแรงกายแรงใจเสียสละ เป็นเจ้าหน้าที่ อปพร. และกรรมการกลุ่มต่างๆ ของหมู่บ้าน ซึ่งได้ช่วยเหลืองานและกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่วนร่วมเป็นประจำเสมอมา |
ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเรียนรู้หมูหลุมในการผลิตปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าวของครอบครัว ให้กับสมาชิกในกลุ่ม ถ่ายทอดความรู้สู่คนภายในชุมชน และถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่นภายนอกชุมชนที่สนใจมาเรียนรู้ด้วย ปัจจุบัน นางนงค์นุช ยอดนางรอง มีตำแหน่งเป็นกรรมการและเป็นเหรัญญิก ซึ่งเป็นแกนนำสำคัญในการบริหารของกลุ่มโรงสีข้าวชุมชนบ้านปากช่อง หมู่ที่ ๗ เป็นธนาคารสมองของกลุ่มที่ทำให้มีความเข้มแข็งประสบความสำเร็จเป็นต้นแบบให้ชุมชนอื่นได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้
จุดเด่น 1. ได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 52 สำนักงานพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ตั้งแต่เริ่มต้นการทำเกษตรแบบผสมผสาน จนถึงปัจจุบัน 2. ได้รับความไว้วางใจให้เป็นกรรมการและเป็นเหรัญญิก แกนนำสำคัญกลุ่มโรงสีข้าวชุมชน บ้านปากช่อง หมู่ที่ 7 อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ 3. เป็นอาสาสมัครป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือนมีส่วนช่วยเหลือสังคมและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ในชุมชน |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 | |||
เจ้าของผลงาน | : | นายเภา ร่วมใจ | |
หน่วยงานสนับสนุน | : | กองทัพบก |
ความสุขเริ่มต้นจากพึ่งตนเอง |
นายเภา ร่วมใจ ประกอบอาชีพทำนา ปลูกผักสวนครัว ในพื้นที่เป็นที่สูงและห่างไกลจากแหล่งน้ำ แห้งแล้ง ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จและขาดทุน จึงไปประกอบอาชีพรับจ้างทำสวนทั่วไป เมื่อปี 2529 ได้นำเงินที่หามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองมาซื้อที่ดินบ้านสันติสุข พื้นที่ 30 ไร่ เพื่อทำการเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัวอีกครั้ง เริ่มสนใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริ ของในหลวง รัชกาลที่ 9 เริ่มค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับโครงการเศรษฐกิจพอเพียง จากหน่วยงานราชการในพื้นที่จนมีความรู้ในการทำเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงและไร่นาสวนผสม พร้อมทั้งเลี้ยงสัตว์และประมงในระยะเวลาประมาณ 15 ปีที่ผ่านมาดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ด้วยความมีมานะ ขยัน อดทน ประกอบกับมีใจรักอาชีพเกษตรโดยมีคติประจำใจว่า “คนเราต้องมีจิตสำนึกรักบ้านเกิดเมืองนอน ของตนเอง การทำโครงการมันไม่ใช่เรื่องยาก ไม่เหนือบ่ากว่าแรงสามารถทำได้ มีความตั้งใจในการเข้ารับการอบรม และไปศึกษาดูงานแล้วนำมาปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีใจรักในสิ่งที่ทำและอดทน ดั่งคำโบราณกล่าวว่า “อดทน อดกลั้น เดี๋ยวดีเอง” |
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ความพอประมาณ
ได้ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางพอประมาณ ด้วยการปลูกไม้ยืนต้น ได้แก่ ยางพารา จำนวน 15 ไร่ และต้นกฤษณา จำนวน 2 ไร่ การทำสวนผลไม้ ได้แก่ ลำไย มังคุด ทุเรียน ลองกอง เงาะ ส้มโอมะขามเปรี้ยว จำนวน 2.5 ไร่ การปลูกพืชไร่พืชสวน ได้แก่ ไผ่ กล้วย การประมง ได้แก่ การเลี้ยงปลาดุก ปลานิล และเลี้ยงกบ ภายใต้งบประมาณที่มีโดยไม่กู้หนี้ การจัดทำบัญชีครัวเรือน อย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งสำคัญทำให้มีภาระหนี้สิ้นลดลง และมีรายได้เพิ่มขึ้น สรุปรายได้คงเหลือ 328,600 บาทต่อปี (27,252 บาทต่อเดือน) ความมีเหตุผล การดำเนินกิจกรรมตามหลักเหตุผล สามารถลดต้นทุนได้ด้วย การทำปุ๋ยหมักพระราชทาน การนำ เศษวัชพืชมาทำฮอร์โมนและน้ำยา เพื่อไล่แมลงศัตรูพืชต่างๆ การทำปุ๋ยชีวภาพจากต้นถั่วเขียว และการใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ ภูมิคุ้มกัน ทำการเกษตรแบบผสมผสานทั้งปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง มีความหลากหลายของกิจกรรม และแต่ละกิจกรรมมีการเกื้อกูลกัน เป็นการลดต้นทุนและลดความเสี่ยง ด้านราคาผลผลิต สร้างความมั่นคง ด้านอาหารและรายได้ ความรู้คู่คุณธรรม ประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกงเบียดเบียนผู้อื่น มีความเสียสละ ขยัน อดทน |
ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
จากการทำเกษตรแบบผสมผสาน ทำให้ช่วยลดทุนในการผลิต ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีที่เป็นอันตราย กับสิ่งแวดล้อม มีรายจ่ายที่ลดลงและมีรายได้มากขึ้น พร้อมทั้งได้อยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรงและได้เป็นแบบอย่างกับคนรุ่นหลัง ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดิน ราษฎรในพื้นที่ได้รับประโยชน์ร่วมกันเกิดความสามัคคี
จุดเด่น 1. เป็นการระเบิดจากข้างในอย่างแท้จริง ที่ต้องการหลุดพ้นความลำบาก 2. เป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ กล้าที่จะลองผิดลองถูก แม้ถูกเพื่อนบ้านดูถูก 3. มีกิจกรรมที่เหมาะสมสภาพสังคมและท้องถิ่น |