ทศวรรษที่ิ ๗
(พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๙)
ทศวรรษที่ ๗
ทรงสาธิตแนวทางแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ
(น้ำ ดิน ป่า)
พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๙
ทรงศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเกิดโครงการพระราชดำริต่างๆ มากมาย อาทิเช่น
โครงการทฤษฎีใหม่
ทำเกษตรโดยการปลูกพืชหมุนเวียนหรือปลูกไว้หลากหลายชนิดบนพื้นที่เดียวกันอย่างที่เรียกว่าไร่นาสวนผสมเพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงเมื่อตลาดเกิดการแปรปรวน แบ่งพื้นที่การเกษตรเป็น ๔ ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ ๑ ขุดสระเก็บน้ำ ๓๐ %
ส่วนที่ ๒ ปลูกข้าว ๓๐ %
ส่วนที่ ๓ ปลูกผลไม้ยืนต้น ๓๐%
ส่วนที่ ๔ ที่อยู่อาศัยและที่เลี้ยงสัตว์ ๑๐ %
โครงการแกล้งดิน
เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาดินพรุดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยการขังน้ำไว้ในพื้นที่จนเกิดปฏิกิริยาทางเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัดจนถึงที่สุดแล้วค่อยระบายน้ำออก และฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะทำการเพาะปลูกได้
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย เพชรบุรี
มีโครงการที่สำคัญ คือ การทดลองศึกษาการปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดิน และฟื้นฟูสภาพแผ่นดินที่แห้งแล้งให้กลับมามีสภาพสมบูรณ์ดังเดิมอีกครั้ง ทั้งในด้านป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร และสัตว์ป่า รวมทั้งให้ราษฎรที่อาศัยในพื้นทีดังกล่าวสามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีความสุขตามอัตภาพ